วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Milgram Experiment การวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ที่ผู้บริหารควรรู้




วันนี้ไปพบบทความหนึ่งจาก pantip.com เห็นว่าน่าสนในดีเลยเอามาให้อ่านกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทดลองทางจิตวิทยาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ถ้านำมาปรับใช้สามารถแก้ปัญหาการบริหารได้มากมาย เชิญอ่านได้เลยครับ


Milgram Experiment เป็นอีกการทดลองหนึ่งซึ่งมักจะได้รับการกล่าวถึงควบคู่ไปกับคุกจำลองของซิมบาร์โด (ทำโดยคุณแสตนลี่ย์ มิลแกรม (Stanley Milgram) ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยมัธยมกับคุณซิมบาร์โดอีกที การทดลองของซิมบาร์โด้ (หาอ่านได้จากบทความชื่อ การวิจัย Stanford Prison Experiment จุดต่ำของใจมนุษย์” ใน WITได้ครับ

อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลอง จะถูกพามานั่งในห้องห้องหนึ่ง แล้วให้เล่นบทเป็น ‘อาจารย์’

ส่วนอีกห้องนึงที่อยู่ข้างๆ จะมีอาสาสมัครอีกคนหนึ่งเล่นบทเป็น ‘นักเรียน’ อาจารย์มีหน้าที่อ่านคำถามให้นักเรียนตอบ และทุกครั้งที่นักเรียนตอบผิด อาจารย์ก็จะต้องกดปุ่มทำโทษ ซึ่งพอกดปุ๊บจะมีกระแสไฟไปช็อตนักเรียน 1 ครั้ง ความแรงของไฟสามารถปรับได้ตั้งแต่อ่อนสุดคันๆ ไปจนกระทั่งถึง 450 โวลท์ซึ่งสามารถทำให้ตายได้ ยิ่งนักเรียนตอบผิดบ่อย ก็จะยิ่งโดนช็อต
แรงขึ้นเรื่อยๆ
แน่นอนว่า ในความเป็นจริงไม่มีการช็อตเชิ๊ตอะไรหรอกครับ คนที่เล่นเป็นอาจารย์แค่ถูกหลอกให้เชื่อเท่านั้น ส่วนนักเรียนที่อยู่อีกห้องนึงที่คอยส่งเสียงตอบและเสียง ‘โอ๊ย’ กลับมานั้น ก็ไม่ได้เป็นอาสาสมัครจริงๆ แต่เป็นนักแสดงซึ่งสมคบคิดกับทีมวิจัยของมิลแกรมมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว การศึกษาทั้งหมดนี้ก็คล้ายๆ กับกรณีคุกจำลอง คือเพียงแค่จะดูว่า คนดีๆ ปกติธรรมดาเนี่ย จะสามารถกระทำการโหดร้ายได้ซักแค่ไหน หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่บีบบังคับ            


ผลการทดลองปรากฏว่า พอเริ่มช้อตไปซักระยะหนึ่ง คนที่แสดงเป็นนักเรียนเริ่มร้องเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ อาสาสมัครผู้ไร้เดียงสาที่เล่นเป็นอาจารย์ก็มักจะตกใจ และหันไปถามคนคุมการทดลองว่า จะให้ช็อตต่อไปจริงๆ เหรอ

คนคุม ซึ่งอยู่ในชุดเสื้อกาวน์สีขาวแบบหมอใส่ จะตีหน้าเคร่งขรึม แล้วตอบกลับมาอย่างเย็นชาว่า “กรุณาดำเนินการต่อไป” อาจารย์ถึงจะลังเลแต่ก็มักจะปฏิบัติตามคำสั่ง ขนาดคนที่เล่นเป็นนักเรียนแกล้งทำเป็นหัวใจวาย แล้วสักพักก็เงียบเสียงไป อาจารย์ก็ยังคงช็อตต่อไปเรื่อยๆ เพียงเพราะผู้คุมแล็บสั่งว่า


“คุณต้องทดลองต่อไป”


“คุณไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นใดๆ ทั้งสิ้น”


“คุณไม่มีทางเลือก คุณต้องทดลองต่อไป”


ผล สุดท้าย จากอาสาสมัครอาจารย์ทั้งหมด มีคนที่ยินยอมช็อตนักเรียนจนถึงระดับ 450 โวลท์ มากถึง 65%! และไม่มีใครหยุดก่อนที่จะถึง 300 โวลท์เลยแม้แต่คนเดียว! ถ้านี่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่บทบาทสมมติละก็ คนพวกนี้คงได้กลายเป็นฆาตกรตัวจริงไปหมดแล้ว!         


บางครั้ง คนดีๆ ก็สามารถฝืนใจทำในสิ่งที่เลวร้ายได้ เพียงเพราะ ‘ไม่กล้าท้าทายคำสั่ง’


ทำไม ล่ะครับ? ทำไมสำนึกผิดชอบชั่วดีถึงได้อ่อนแรงลงคล้ายเป็นตะคริว? อะไรมั่ง เป็นปัจจัยกดดันให้คนยอมทำอะไรที่ขัดแย้งกับความรู้สึกตัวเองได้ถึงเพียง นั้น?


มิลแกรมทำการทดลองเพิ่มเติมต่ออีกหลากหลายรูปแบบแล้วก็ค้นพบว่า..


ประการ แรก ภาพพจน์ความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ผู้ออกคำสั่งสังกัดอยู่ มีผลเป็นอย่างยิ่ง ถ้าสถานที่จัดการทดลองอยู่ภายในมหาวิทยาลัย Yale คนจะยอมให้ความร่วมมือเชื่อฟังสูงกว่า เมื่อเทียบกับเวลาไปจัดการทดลองข้างนอก ตามห้องแถวที่ไม่มีใครรู้จัก            


ประการต่อมา ระยะการเผชิญหน้ากับผู้กุมอำนาจ ก็มีผลเป็นอย่างยิ่ง อาสาสมัครจะกล้าขัดคำสั่งมากกว่า ถ้าหากผู้คุมที่คอยบอกให้ดำเนินการช็อตต่อไป ไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในห้องด้วย แต่เป็นเพียงแค่เสียงที่ส่งมาตามสายโทรศัพท์ (กรณีนี้ บางคนใช้วิธีฉวยโอกาสที่ผู้คุมมองไม่เห็น แกล้งทำเป็นบอกว่ากดปุ่มช็อตไปแล้ว แต่จริงๆ ไม่ได้กด)

อีก สิ่งนึงที่มีผลก็คือ ระยะห่างระหว่างเหยื่อผู้ถูกกระทำกับตัวผู้กระทำ.. ในการทดลองที่นักเรียนถูกจับมานั่งตรงเก้าอี้ข้างๆ ตัวอาจารย์เลย อาจารย์จะไม่ค่อยกล้ากดช็อตเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับเวลาที่นั่งกันอยู่คนละห้องแล้วได้ยินแค่เสียง..

อัน นี้ ว่าไปก็คงคล้ายๆ กับพวกที่ถ้าให้สั่งข้าวขาหมูกิน กินได้ แต่ถ้าให้ไปฆ่าหมูกินเอง ไม่เอา.. คนเรา เวลามัน ‘ห่าง’ จากผลลัพธ์การกระทำของตนเอง บางทีมันก็ทำให้รู้สึกผิดน้อยลง ตราบใดที่เหยื่อยังไม่มานอนดิ้นตะแหง่วๆ อยู่ตรงหน้า ตราบใดที่ไม่ได้สบตากัน มันก็ไม่ยากเท่าไหร่ ที่จะเพิกเฉยต่อความสงสารปรานี เหมือนนักบินทิ้งระเบิด กดปุ่มทีเดียวฆ่าคนได้เป็นหมื่น แต่ถ้าให้ลงไปเดินเอาตะเกียบไล่แทงทีละคน อาจจะทำไม่ได้       
บางครั้ง ระยะ ‘ห่าง’ ตรงนี้ อาจไม่จำเป็นต้องวัดกันเป็นเมตรด้วยซ้ำ คน 2 คนยืนอยู่ข้างๆ กัน ฝ่ายนึงก็สามารถลงมือทรมานอีกฝ่ายนึงอย่างเลือดเย็นได้

หาก อาศัย ‘ความห่างทางจิตใจ’ คิดซะว่าอีกฝ่ายนึงเป็นพวกที่ด้อยกว่า ลดความเป็นคนของเขาลง โดยการเอาถุงมาคลุมหัว เอาผ้ามาปิดตา จับแก้ผ้า ห้ามพูด ห้ามเถียง ห้ามมองหน้า ทำให้พวกเขาเปลี่ยนสภาพจากคนกลายเป็นวัตถุ อย่าให้มีวี่แววของความรู้สึก จิตใจ หลงเหลือเล็ดรอดออกมา มองไปให้เห็นเป็นแค่เศษหินก้อนนึง คราวนี้จะแกล้งจะเล่นยังไงก็ได้ ย่อมไม่ผิด


ภาพดังกล่าวพบเห็นได้ทั่วไปตามค่ายกักกันนักโทษ ค่ายเชลยสงครามทั้งหลาย
หรือแม้แต่กระทั่ง ค่ายรับน้องโหดบางแห่ง ก็ยังปรากฏภาพที่คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ เทคนิคสลายความเป็นคนของผู้ถูกกระทำ ลดความสำนึกผิดของผู้กระทำ เพิ่มระยะห่างทางจิตใจ ได้ผลดีอย่างน่ากลัว จนแม้แต่รุ่นพี่ผู้หญิงที่ท่าทางอินโนเซนต์ๆ ก็ยังสามารถอินและมีส่วนร่วมไปกับกิจกรรมการล่วงละเมิดผู้อื่นได้อย่างหน้า ชื่นตาบาน             


ในการทดลองอีกเวอร์ชั่นนึง มิลแกรมแกล้งทำเป็นทดสอบอาจารย์ทีละ 3 คนพร้อมๆ กัน โดยที่จริงๆ แล้ว มีแค่ 1 คนในนั้นเท่านั้น ที่เป็นอาสาสมัครจริงๆ ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงพวกเดียวกับมิลแกรมหมด ผลการทดลองปรากฏว่า ในกรณีที่อาจารย์ปลอมทั้งสองแกล้งทำเป็นยินยอมช็อตนักเรียนจนถึง 450 โวลท์ทั้งคู่


อาจารย์คนที่ 3 ซึ่งเป็นอาสาสมัครตัวจริง จะมีพวกที่รู้สึกถูกกดดันจนต้องยอมให้ความร่วมมือตามไปด้วย มากถึง 90% ! (อีก 10% ที่ไม่ยอมนี่ ถือว่าฮีโร่มากๆ) ในทางกลับกัน ถ้าอาจารย์ปลอมทั้งสองแกล้งทำเป็นขัดขืนผู้คุม ไม่ยอมทำการช็อตต่อไป พวกอาจารย์อาสาสมัครส่วนใหญ่ (90%) ก็มักจะร่วมขัดขืน และไม่ยอมช็อตตามไปด้วยเช่นกัน   

ในสถาพแวดล้อมที่ถูกบีบบังคับให้ตกเป็น ส่วนหนึ่งของความชั่วร้าย หากไม่มีใครสักคนนึงลุกขึ้นมายืนหยัดต่อสู้ ทุกคนก็พร้อมที่จะปิดปากเงียบ และปล่อยเลยตามเลยกันหมด คนเราลึกๆ แล้วไม่มีใครอยากแตกต่างแปลกแยก พวกเราล้วนอยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม คนดีๆ บางครั้งที่ยอมทนเพิกเฉยต่อสิ่งผิด อาจเป็นเพราะ ‘กลัวการแตกฝูง’    


เรื่องอื่น การวิจัย Stanford Prison Experiment ‘คุกจำลอง’ จุดต่ำของใจมนุษย์

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำคม ชวนคิด กับวอร์เรน บัฟเฟตต์



ความขยัน : ทุกความขยัน...นำรายได้มาให้, แค่พูด...มีแต่นำความยากจนมาให้

ขี้เกียจ : กุ้งลอบสเตอร์ที่หลับ จะถูกกระแสน้ำพัดพาหายไป

เงินที่หาได้ : อย่าพึ่งพา “แหล่งรายได้เพียงทางเดียว” เป็นอันขาด

(อย่างน้อย ทำให้ “การลงทุนใดๆ” เกิดเป็นรายได้แหล่งที่ 2 ของคุณ)

การใช้จ่าย : ถ้าคุณ“ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น”, คุณจะต้อง“ขายสิ่งที่จำเป็น”…ในไม่ช้า

การออม : อย่าเพียงออมเท่าที่เหลือจากการใช้จ่าย แต่ให้ใช้จ่ายในส่วนที่เหลือจากการเก็บออมแล้ว

การยืม : คนเป็น“ลูกหนี้” กลายเป็น...“ทาสของเจ้าหนี้”

ทำบัญชี : จะมีประโยชน์อะไรในการกางร่ม, ถ้ารองเท้าของคุณฉีกขาดอยู่

ตรวจสอบ : ระมัดระวังแม้รายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ, รอยรั่วเล็กๆ สามารถจมเรือใหญ่ๆ ได้

การเสี่ยง : อย่าตรวจความลึกของแม่น้ำด้วยเท้า 2 ข้างเป็นอันขาด (มีแผนอื่นรองรับไว้ให้พร้อม)

การลงทุน : อย่าใส่ไข่ทั้งหมดของคุณ...รวมไว้ในตระกร้าเพียงใบเดียว

ผมมั่นใจว่า...ใครก็ตามที่ ฝึกปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้อยู่แล้ว

เป็นผู้ที่ดำรงการมี ฐานะการเงินที่แข็งแรงไว้ได้

ผมมั่นใจเท่าๆ กันด้วยว่า...ใครก็ตามที่ เริ่มต้นฝึกปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้

จะกลับมาเป็นผู้มี ฐานะการเงินที่เข้มแข็งได้อย่างรวดเร็ว

ขอเราทุกคนต่างกลายเป็น...

ผู้ที่มีปัญญามากขึ้น และ นำไปสู่ความสุข มีชีวิตที่แข็งแรง, มั่งคั่งและ สงบสุข.

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แวนโก๊ะ จิตรกรเอกของโลก




“และจุดหมายของฉันในชีวิตของฉัน ก็คืดการวาดรูปและวาดภาพ ให้มากและดีที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ แล้วพอถึงวันสุดท้ายของชีวิตฉัน ฉันหวังจะจากไป พร้อมกับมองกับมาด้วยความรักและความอาลัย และหวนคิดว่า ‘โอ บรรดารูปภาพที่ฉันได้สร้างขึ้น’’  
_วินเซนต์  แวนโก๊ะ 19 พ.ย. 1883



วินเซนต์  แวนโก๊ะเกิดที่ เมืองบราบัง ตำบลซันเดิร์ต (Zundert) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 1853 วันที่ 30 มีนาคม มีพ่อเป็นนักบวช ในศาสนาคริสต์ มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นชนชั้นกลางที่มีชีวิตแบบแคบๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เขาเป็นเด็กหนุ่มที่ดูเงอะงะ ไม่คล่องแคล่วเหมือนคนมีปมด้อย ค่อนข้างใจน้อย จึงชอบอยู่คนเดียว และมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย อ่อนโยน มีความเมตตาต่อคนทุกข์ยาก ทำให้ทุกคนมองเขาว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ น่ารำคาญ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าทำงานที่ ห้องภาพแห่งหนึ่งที่กรุงเฮก กับญาติที่ทำงานด้านศิลปะ และเมื่อเขามีอายุได้ 18 ปี เขาก็ถูกส่งตัวไปยังห้องภาพที่ สาขาปารีส ด้วยความที่เขาเป็นคนซื่อ และความเบื่อหน่ายที่ทางห้องภาพเอารูปเลวๆ มาหลอกขายกับคนที่ไม่รู้จักศิลปะ เขาถึงกับบอกให้ลูกค้าไม่ให้ซื้อภาพนั้น จนกระทั่งทางร้านไม่พอใจไล่เขาออกจากงานในที่สุด


วินเซนต์  แวนโก๊ะ ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับตอนที่มีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้เขานับเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่


แวนโก๊ะ เริ่มวาดรูปเมื่อเขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาถูกวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาสร้างผลงานมากกว่า 2,000 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยภาพเขียน 900 ชิ้นและภาพวาดและสเก็ตช์ 1,100 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะสมัยใหม่นิยมที่ตามมา ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของเขา เช่นภาพเขียนตัวเอง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และดอกทานตะวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก



เรื่องราวของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ ตลอดจนผลงานและความรู้สึกนึกคิดของเขา เป็นที่รับรู้ของคนยุคต่อมา ผ่านจดหมายที่เขาเขียนติดต่อกับ ธีโอ แวน โก๊ะ (Theo Van Gogh) น้องชายซึ่งมีอาชีพเป็นดีลเลอร์ขายงานศิลปะ ธีโอเป็นคนเดียวที่ให้การสนับสนุนแวน โก๊ะ ทั้งด้านการเงิน และคอยให้กำลังใจพี่ชายด้วยความปรารถนาดีอยู่ตลอดเวลา ในปี 1888 ระหว่างที่แวน โก๊ะประสบปัญหาทางการเงินอยู่นั้น ธีโอ ได้รับมรดกมาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เขาจึงแบ่งเงินจำนวนนี้เพื่อช่วยเหลือพี่ชายที่กำลังตกยาก


ในหัวของเขามีปัญหาแก้ไม่ตกของสังคมยุคนี้ฝังอยู่นานแล้ว และเขาก็กำลังต่อสู้อยู่ด้วยใจที่ประเสริฐและพลังที่ไม่มีวันหมด ความมานะของเขาไม่สูญเปล่าหรอก แต่เขาคงจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่จนถึงวันที่เห็นมันผลิดอกออกผล พอถึงเวลาที่คนเข้าใจว่าเขาตั้งใจจะบอกอะไรในภาพของเขา มันก็สายไปแล้ว เขาเป็นหนึ่งในพวกจิตรกรหัวก้าวหน้า และมันก็ทำให้เข้าใจเขาได้ยากแม้แต่ผมที่รู้จักเขาอย่างสนิทสนมมากก็ตาม ความคิดเขาครอบคลุมหลายเรื่องมาก ขบคิดว่าอะไรคือความเป็นมนุษย์ และวิธีการอย่างไรที่คน ๆ หนึ่งจะมองโลก ก็คือใครที่จะเข้าใจสิ่งที่เขาพยายามบอกจะต้องปลดปล่อยตัวเองจากอะไรก็ตามที่พันธนาการกับระเบียบแบบแผนเสียก่อน แต่ผมแน่ใจนะว่าจะมีคนเข้าใจเขาหลังจากนี้ไป มันก็บอกได้ยากว่าเมื่อไหร่          


_ ธีโอ แวนโก๊ะ 15 พฤศจิกายน 2421 (ค.ศ.1878)




แวน โก๊ะ มีชีวิตอยู่บนเส้นทางสายศิลปะ อย่างลำบากยากแค้น เขายิงตัวเองเข้าทางสีข้างด้านซ้าย ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม ปี 1890 หลังจากการเขียนรูปทางสามแพร่ง (Wheat Field with Crows) (งานชิ้นนี้อาจจะสื่อถึงการหาทางออกให้กับของชีวิตของเขาเอง ที่เปรียบเสมือนทาง 3 สายที่มาบรรจบกันทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางใดต่อ) ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่ทุ่งนา แต่เขาไม่เสียชีวิตทันที โดยเขาได้เอามือกดปากแผลไว้และเดินกลับมาที่ร้านกาแฟที่เขาพัก


แวน โก๊ะ สิ้นใจในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม ปี 1890 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของเพื่อนๆ ศพของเขาถูกฝังไว้ในสุสานเล็กๆที่เมืองอูฟเวรซูอีรัว ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส


หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา เธโอ น้องชายก็สิ้นใจตายตามพี่ชายของเขาเนื่องจากโรคไต ในอีก 23 ปีต่อมาภรรยาของเธโอ จึงย้ายศพของเขาบางส่วนมาฝังไว้ใกล้ๆศพของ แวน โก๊ะ


ในที่สุดพี่น้องที่รักกันมาก ก็ได้มาอยู่ด้วยกันในสุสานเล็กๆ ที่เมืองอูฟเวรซูอีรัว



ศิลปะช่างวิเศษจริง ถ้าใครสักคนเพียงแค่สามารถจดจำสิ่งที่เคยเห็น เขาจะไม่มีวันขาดแคลนอาหารสำหรับความคิด หรือรู้สึกว้าเหว่เลย ไม่โดดเดี่ยวเลย

_วินเซนต์ แวนโก๊ะ ถึง ธีโอ
เมือง Laeken 15 พฤศจิกายน 2421 (ค.ศ.1878)




อ้่างอิง  http://th.wikipedia.org
           http://www.vggallery.com


เรื่องอื่น    ไม่มีคำว่าสายของชีวิต     ดอกเตอร์โนงูจิ ฮิเดโยะ