วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แวนโก๊ะ จิตรกรเอกของโลก




“และจุดหมายของฉันในชีวิตของฉัน ก็คืดการวาดรูปและวาดภาพ ให้มากและดีที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ แล้วพอถึงวันสุดท้ายของชีวิตฉัน ฉันหวังจะจากไป พร้อมกับมองกับมาด้วยความรักและความอาลัย และหวนคิดว่า ‘โอ บรรดารูปภาพที่ฉันได้สร้างขึ้น’’  
_วินเซนต์  แวนโก๊ะ 19 พ.ย. 1883



วินเซนต์  แวนโก๊ะเกิดที่ เมืองบราบัง ตำบลซันเดิร์ต (Zundert) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 1853 วันที่ 30 มีนาคม มีพ่อเป็นนักบวช ในศาสนาคริสต์ มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นชนชั้นกลางที่มีชีวิตแบบแคบๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เขาเป็นเด็กหนุ่มที่ดูเงอะงะ ไม่คล่องแคล่วเหมือนคนมีปมด้อย ค่อนข้างใจน้อย จึงชอบอยู่คนเดียว และมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย อ่อนโยน มีความเมตตาต่อคนทุกข์ยาก ทำให้ทุกคนมองเขาว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ น่ารำคาญ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าทำงานที่ ห้องภาพแห่งหนึ่งที่กรุงเฮก กับญาติที่ทำงานด้านศิลปะ และเมื่อเขามีอายุได้ 18 ปี เขาก็ถูกส่งตัวไปยังห้องภาพที่ สาขาปารีส ด้วยความที่เขาเป็นคนซื่อ และความเบื่อหน่ายที่ทางห้องภาพเอารูปเลวๆ มาหลอกขายกับคนที่ไม่รู้จักศิลปะ เขาถึงกับบอกให้ลูกค้าไม่ให้ซื้อภาพนั้น จนกระทั่งทางร้านไม่พอใจไล่เขาออกจากงานในที่สุด


วินเซนต์  แวนโก๊ะ ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับตอนที่มีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้เขานับเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่


แวนโก๊ะ เริ่มวาดรูปเมื่อเขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาถูกวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาสร้างผลงานมากกว่า 2,000 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยภาพเขียน 900 ชิ้นและภาพวาดและสเก็ตช์ 1,100 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะสมัยใหม่นิยมที่ตามมา ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของเขา เช่นภาพเขียนตัวเอง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และดอกทานตะวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก



เรื่องราวของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ ตลอดจนผลงานและความรู้สึกนึกคิดของเขา เป็นที่รับรู้ของคนยุคต่อมา ผ่านจดหมายที่เขาเขียนติดต่อกับ ธีโอ แวน โก๊ะ (Theo Van Gogh) น้องชายซึ่งมีอาชีพเป็นดีลเลอร์ขายงานศิลปะ ธีโอเป็นคนเดียวที่ให้การสนับสนุนแวน โก๊ะ ทั้งด้านการเงิน และคอยให้กำลังใจพี่ชายด้วยความปรารถนาดีอยู่ตลอดเวลา ในปี 1888 ระหว่างที่แวน โก๊ะประสบปัญหาทางการเงินอยู่นั้น ธีโอ ได้รับมรดกมาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เขาจึงแบ่งเงินจำนวนนี้เพื่อช่วยเหลือพี่ชายที่กำลังตกยาก


ในหัวของเขามีปัญหาแก้ไม่ตกของสังคมยุคนี้ฝังอยู่นานแล้ว และเขาก็กำลังต่อสู้อยู่ด้วยใจที่ประเสริฐและพลังที่ไม่มีวันหมด ความมานะของเขาไม่สูญเปล่าหรอก แต่เขาคงจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่จนถึงวันที่เห็นมันผลิดอกออกผล พอถึงเวลาที่คนเข้าใจว่าเขาตั้งใจจะบอกอะไรในภาพของเขา มันก็สายไปแล้ว เขาเป็นหนึ่งในพวกจิตรกรหัวก้าวหน้า และมันก็ทำให้เข้าใจเขาได้ยากแม้แต่ผมที่รู้จักเขาอย่างสนิทสนมมากก็ตาม ความคิดเขาครอบคลุมหลายเรื่องมาก ขบคิดว่าอะไรคือความเป็นมนุษย์ และวิธีการอย่างไรที่คน ๆ หนึ่งจะมองโลก ก็คือใครที่จะเข้าใจสิ่งที่เขาพยายามบอกจะต้องปลดปล่อยตัวเองจากอะไรก็ตามที่พันธนาการกับระเบียบแบบแผนเสียก่อน แต่ผมแน่ใจนะว่าจะมีคนเข้าใจเขาหลังจากนี้ไป มันก็บอกได้ยากว่าเมื่อไหร่          


_ ธีโอ แวนโก๊ะ 15 พฤศจิกายน 2421 (ค.ศ.1878)




แวน โก๊ะ มีชีวิตอยู่บนเส้นทางสายศิลปะ อย่างลำบากยากแค้น เขายิงตัวเองเข้าทางสีข้างด้านซ้าย ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม ปี 1890 หลังจากการเขียนรูปทางสามแพร่ง (Wheat Field with Crows) (งานชิ้นนี้อาจจะสื่อถึงการหาทางออกให้กับของชีวิตของเขาเอง ที่เปรียบเสมือนทาง 3 สายที่มาบรรจบกันทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางใดต่อ) ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่ทุ่งนา แต่เขาไม่เสียชีวิตทันที โดยเขาได้เอามือกดปากแผลไว้และเดินกลับมาที่ร้านกาแฟที่เขาพัก


แวน โก๊ะ สิ้นใจในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม ปี 1890 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของเพื่อนๆ ศพของเขาถูกฝังไว้ในสุสานเล็กๆที่เมืองอูฟเวรซูอีรัว ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส


หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา เธโอ น้องชายก็สิ้นใจตายตามพี่ชายของเขาเนื่องจากโรคไต ในอีก 23 ปีต่อมาภรรยาของเธโอ จึงย้ายศพของเขาบางส่วนมาฝังไว้ใกล้ๆศพของ แวน โก๊ะ


ในที่สุดพี่น้องที่รักกันมาก ก็ได้มาอยู่ด้วยกันในสุสานเล็กๆ ที่เมืองอูฟเวรซูอีรัว



ศิลปะช่างวิเศษจริง ถ้าใครสักคนเพียงแค่สามารถจดจำสิ่งที่เคยเห็น เขาจะไม่มีวันขาดแคลนอาหารสำหรับความคิด หรือรู้สึกว้าเหว่เลย ไม่โดดเดี่ยวเลย

_วินเซนต์ แวนโก๊ะ ถึง ธีโอ
เมือง Laeken 15 พฤศจิกายน 2421 (ค.ศ.1878)




อ้่างอิง  http://th.wikipedia.org
           http://www.vggallery.com


เรื่องอื่น    ไม่มีคำว่าสายของชีวิต     ดอกเตอร์โนงูจิ ฮิเดโยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น