วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บิดาแห่งระบบ สายพาน เฮนรี่ ฟอร์ด



“ถ้ามีหลักเกณฑ์แน่ชัดว่า นักธุรกิจต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างละก็ คุณสมบัติทั้งหมดเหล่านั้นจะต้องไม่ใช่ที่ฟอร์ดเป็น” จอห์น เคนเนธ แกลเบรธ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวถึง เฮนรี่ ฟอร์ด


เฮนรี ฟอร์ด เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ และได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อให้เกิด "ชนชั้นกลาง" ขึ้นมาในสังคมอเมริกัน และฟอร์ดยังได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน"


ความที่ฟอร์ดเป็นคนโมโหง่าย ปราดเปรื่อง เป็นคนประหลาดแต่มีความตั้งใจมุ่งมั่นแน่วแน่ เขาจึงอาศัยสัญชาติญาณมากกว่าการวางแผนธุรกิจ


ฟอร์ด โมเดลที Ford Model T เป็นชื่อรถยนต์ในยุคบุกเบิก ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ถึง พ.ศ. 2470 ผลิตและออกแบบโดย เฮนรี่ ฟอร์ด ถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของ เฮนรี่ ฟอร์ด และสหรัฐอเมริก


เขาแสดงให้เห็นว่า การผลิตอย่างเป็นระบบจัดทำในเชิงกลยุทธ์เพื่อลดราคาจำหน่ายลงเรื่อยๆสามารถ ส่งผลกำไรได้


รายได้สุทธิของฟอร์ดมอเตอร์เพิ่มจาก 3 ล้านดอลลาร์ในปี 1909 ไปเป็น 25 ล้านดอลลาร์ในปี 1914 และมีส่วนแบ่งการตลาดจาก 9.4% ในปี 1908  ไปเป็น 48% ในปี 1914


ปี 1914 คนงานฟอร์ด 13,000 คน ผลิตรถได้ 206,720 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งระบบที่เหลือแล้ว การจะผลิตรถยนต์จำนวน 286,770 คันจำเป็นต้องใช้คนงานถึง 66,350 คน


เขาเป็นผู้ริเริ่มนำระบบสายพานมาใช้ในการผลิต โดยให้อุปกรณ์ไหลไปตามสายพานและให้คนงานประกอบรถยนต์ทีละส่วน และทำให้ผลิตรถยนต์หนึ่งคันเพียงชั่วโมงครึ่ง


เฮนรี่ ฟอร์ด ตระหนักถึงความสำคัญของมนุษย์เสมอ โดยมีแนวคิดว่า การรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทนานๆได้มากขึ้นเท่าไร จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและคนงานที่ทำงานอย่างมีความสุขมากกว่า ย่อมนำไปสู่ประสิทธิภาพทางการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้เท่านั้น

โดยเขากับบรรดาผู้เชี่ยวชาญ จะทำการตรวจสอบทุกแง่มุมของการประกอบชิ้นส่วนผลิต และทดสอบวิธีการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต โดยมีแนวคิดว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถทำให้ดีกว่าที่ทำได้อยู่แล้วเสมอ”