วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดอกเตอร์โนงูจิ ฮิเดโยะ “ความอดทนมีรสขม แต่ผลของความอดทนมีรสหวาน”



คำกล่าวของ ดร. โนงูจิ ฮิเดโยะ แพทย์ผู้อุทิศทั้งชีวิตของเขาต่อสู้กับโรคร้ายเพื่อมนุษยชาติ และได้เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรก ที่ถูกพิมพ์ภาพลงบนธนบัตรญี่ปุ่น (แบงค์พันเยน ) ในปี 2004  เพื่อแสดงถึงความภาคภูมิใจของประเทศญี่ปุ่น .


"ฉันจะไม่กลับไปที่บ้านของพื้นเมืองของฉันหากฉันไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของฉัน"


โนงูจิ ฮิเดโยะ เกิด พศ. 2416 ในครอบครับชาวนาที่ยากจน เมื่ออายุประมาณสองขวบ แม่ของเขาได้ออกไปทำงานและทิ้งโนงูจิให้อยู่บ้านตามลำพัง โนงูจิวัยเด็กได้พลัดตกลงไปในเตาหลุมที่ใช้ทำอาหาร ทำให้นิ้วมือซ้ายของเขาเสียใช้การไม่ได้


การที่มือพิการทำให้เขาโดนล้อเลียนว่าเป็น “ไอ้มือกุด” และโดนเพื่อนๆ รังแกเป็นประจำ และทุกครั้งที่เขาร้องไห้กลับมาบ้าน คุณแม่ของเขาจะบอกเสมอว่า “ให้มองไปข้างหน้า และพยายามอดทน”


เมื่อโนงูจิขึ้นชั้นประถม เขาต้องเดินข้ามภูเขาเพื่อไปโรงเรียน ต้องดื่มน้ำในลำธารแทนอาหารกลางวัน และถูกเพื่อนล้อเลียนความพิการ ทำใหสอบได้คะแนนไม่ดีทุกครั้ง
โนงูจิเริ่มมีความมั่นใจเพราะการเขียนเรียงความเรื่อง “แม่ของฉัน” ได้คะแนนเต็ม ผลการเรียนของเขาดีขึ้นเรื่ิอย ๆ จนกระทั่งได้ที่หนึ่ง และเขายังได้ช่วยสอนหนังสือเพื่อน ๆ ยามครูไม่ว่าง ถึงตอนนี้เพื่อน ๆ ต่างเห็นใจโนงูจิ จึงช่วยรวบรวมเงินเพื่อให้เขาได้ผ่าตัดมือ
ในปี พ.ศ. 2434 คานาเอะ วาตานาเบ้ ได้ทำการผ่าตัดแยกนิ้วมือให้โนงูจิ ความฝันที่จะเป็นครูของ เขาสิ้นสุดลงเพราะการผ่าตัดไม่สำเร็จ แม้ว่าการผ่าตัดจะไม่สมบูรณ์ แต่โนงูจิก็รูุ้้สึกชื่นชมและตัดสินใจว่าจะเป็นแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ยากไร้ ดังนั้นเมื่อเขาจบมัธยมปลายจึงไปขอร้องนายแพทย์วาตานาเบ้ให้รับเขาไว้ทำงานตำแหน่งภารโรงในโรงพยาบาลเพื่อเรียนวิชาแพทย์ตามที่ตนเองต้องการ
โนงูจิศึกษาวิชาแพทย์ พร้อมหัดเรียนภาษาเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศสด้วยตัวเอง ในปี พ.ศ. 2439 เพื่อน ๆ และชาวบ้านช่วยกันลงขันเพื่อให้เขาได้ไปสอบวัดระดับวิชาชีพแพทย์ เขาสามารถสอบผ่านโดยทำคะแนนเป็นอันดับ 1 เมื่อผ่านการทดสอบในภาคปฏิบัติ โนงูจิจึงได้เป็นแพทย์ในขณะที่มีอายุเพียงแค่ 20 ปี
ตอนที่โนงูจิทำงานอยู่ที่สถาบันวิจัยโรคระบาด ได้มีโอกาศเป็นล่ามให้กับไซมอน เฟลกซ์เนอร์ ศาสตราจารย์ทางด้านพยาธิวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกิ้นส์ ซึ่งเดินทางมาดูงานที่ญี่ปุ่น เฟลกซ์เนอร์ถูกใจในตัวโนงูจิและชักชวนให้เขาไปที่สหรัฐอเมริกาเมื่อมีโอกาส
หมอโนงูจิเข้ารับการผ่าตัดมือซ้ายเป็นครั้งที่สอง และเดินทางกลับบ้านเกิด ครูโคบายาชิผู้มีพระคุณในสมัยเด็ก ได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “โนงูจิ ฮิเดโยะ” แปลว่าผู้เก่งกล้าของโลก ให้แก่เขา นัยยะหนึ่งคือเพิ่อให้หมอโนงูจิไปสู่โลกกว้าง ความพิการที่มือซ้ายของเขาทำให้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยตามหน้าที่หมอได้
หมอโนงูจิ จึงเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นนักวิจัยด้านแบคทีเรีย ทำงานกับสถาบันระบาดวิทยา หลังจากนั้น เขาก็ถูกส่งตัวไปทำงานที่ด่านกักกันโรค เมืองท่าโยโกฮามะ และได้ตรวจพบเชื้อกาฬโรคในเลือดผู้ป่วย จากผลงานในครั้งนี้โนงูจิได้ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะแพทย์รวมเดินทางไปประเทศจีน เพื่อยับยั้งกาฬโรคที่ระบาดหนัก
ความขัดแย้งระหว่างชาวนาจีนที่ยากจนกับทหารรัสเซีย สงครามทำให้หมอโนงูจิเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างรวดเร็ว ปี พ.ศ. 2443 เขากลับมาประเทศญี่ปุ่น พยายามสร้างผลงานด้านการแพทย์ ครั้งหนึ่งเมื่อเขานึกถึงศาสตราจารย์ไซม่อน เฟลกซ์เนอร์ เขาจึงไปร่ำลาแม่ของเขา เพื่อไปอเมริกา
เมื่อโนงูจิมาถึงอเมริกา เขาได้รับทุนช่วยเหลือจากชาวอเมริกา และไ้ด้ทำงานศึกษาวิจัยในด้านแบคทีเรียวิทยา เขาได้รับเลือกจาก ดร. เฟลกซ์เนอร์ ให้เป็นผู้ช่วยในสถาบันวิจับแพทย์ จนในที่สุดโนงูจิก็ได้รับการยอมรับในสังคมของอเมริกา และได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นนักวิจัยด้านแบคทีเรียมีชื่อเสียงอยู่ในระดับหนึ่งด้วย
เขาส่งเงินกลับไปให้แม่เมื่อเขาเริ่มตั้งตัวได้ และทำงานอย่างหนักเพื่อคิดค้นหนทางรักษาและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ผลงานของนายแพทย์โนงูจิ ฮิเดโยะ สร้างความพิศวงใจให้กับนายแพทย์ท่านอื่น ด้วยการศึกษาวิจัยของเขา ทำให้เขาค้นพบเชื้อโรคหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคระบาดต่าง ๆ ผลงานที่สร้างชื่อให้เขา คือสามารถเพาะเชื้อสไปโรชิท Spirochete สาเหตุของโรคซิฟิลิสได้สำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2454 และเขาสามารถแยกเชื้อตัวนี้ออกจากผู้ป่วยโรคซิฟิลิสที่เป็นอัมพาตได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2456
ในปี พ.ศ. 2454 เขาได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตสาขาแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต และสาขาวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี พ.ศ. 2457
เขาทำงานในสถาบันวิจัยทางการแพทย์ร็อกกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller institute for medical research) ได้ร่วมงานกับนักวิจัยชั้นนำทั่วโลก เขาเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ หลายประเทศ และได้ทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตให้กับการค้นคว้าวิจัย
ปี พ.ศ. 2458 โนงูจิ กลับมาประเทศญี่ปุ่นเ เพื่อมารับรางวัลจากสมเด็จพระจักรพรรดิ (The Imperial Award) จากราชวิทยาลัยแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ที่บ้านเขาได้สลักคำพูดไว้ที่ศิลาว่า “ความอดทนมีรสขม แต่ผลของความอดทนมีรสหวาน” และนั้นเป็นครั้งสุดท้ายที่เขากลับมาประเทศญี่ปุ่น
โนงูจิกลับมาอเมริกา และมุ่งมั่นค้นคว้าวิจัยต่อไปในสถาบันวิจัยที่อเมริกา จนในที่สุดเขาก็สามารถค้นพบเชื้อต้นเหตุของไข้เหลือ (Yellow Fever) ที่เอกวาดอร์( Ecuador) ในปี พ.ศ. 2461 การค้นพบนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลมากมาย
เมื่อค้นพบเชื้อต้นเหตุของไข้เหลือง โนงูจิตัดสินใจเป็นอาสาสมัครเดินทางมาทวีปแอฟริกาในปัจจุบันคือ กรุงอัคคร่า ประเทศกาน่า ซึ่งในสมัยนั้นชีวิตความเป็นอยู่ในอัคคร่ายากลำบาก และเต็มไปด้วยอันตราย แต่สำหรับเขาแล้ว ที่นี้คือ “แหล่งความรู้” เป็น “แหล่งความสุข” ของเขาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
โนงูจิจบชีวิตด้วยโรคไข้เหลือง ในวัยเพียง 51 ปี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ณ กรุงอัคคร่า ประเทศกาน่าในปัจจุบัน ซึ่งเขาได้ทำการค้นคว้าแม้กระทั้งตอนป่วย ประโยคสุดท้ายเกี่ยวกับไข้เหลืองว่า “I don’t understand” เขาทำงานจนถึงวาระสุดท้าย
ร่างของ โนงูจิถูกส่งกลับมาที่อเมริกา ที่ป้ายหลุมศพของเขาถูกสลักไว้ว่า “สมาชิกแห่งสถาบันวิจัยทางการแพทย์ร็อกกี้เฟลเลอร์ ผู้อุทิศตนเพื่อวิทยาศาสตร์ มีชีวิตอยู่และจากไปเพื่อมวลมนุษย์ชาติ” ณ สุสานวู้ดลอว์น (Woodlawn Cemetery) ในนิวยอคร์ ซึ่งเป็นสุสานที่ได้ชื่อว่าทรงเกียรติที่สุดสำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ดอกเตอร์โนงูจิ ฮิเดโยะ ผู้ที่สละเวลาทั้งชีวิตเพื่อพัฒนาความรู้ทางการแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น