วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สัตว์ที่มีความสุขที่สุดในโลก “ควอกก้า”




ลองดูครับ เขาว่ากันว่าเจ้าตัวนี้มีความสุขที่สุดในโลก



สร้างบ้าน






หาคู่



ไม่เจอคู่(โสด)




หาอาหาร



ไม่เจออาหาร




หิวตาย



ขอบคุณภาพจาก world.kapook กับ catdumb.com

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เปลือกกุ้ง เศษวัสดุที่ไม่ไร้ค่า



กุ้งนั้นเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย กุ้งแต่ละตัวนั้น สัดส่วนที่เป็นเนื้อและส่วนที่เป็นเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งก็สูสีกัน แบ่งน้ำหนักกันไปคนละเกือบ 50-50 ในปัจจุบันมีกุ้งป้อนเข้าโรงงานถึงปีละ 180,000 ตัน เป็นเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งถึง 90,000 ตัน เลยทีเดียว วัสดุเหลือใช้จากกระบวนแปรรูปกุ้งนี้ หากทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ก็คงน่าเสียดายอย่างยิ่ง
ปัจจุบัน การนำเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งไปใช้ประโยชน์ โดยมากก็จะเป็นการนำไปป่นบดทำเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งแบบนี้ก็เป็นการใช้ประโยชน์ โดยทั่ว ๆ ไป
หากมองลึกลงไปให้ถึงองค์ประกอบทางเคมี โดยเฉพาะส่วนของสารพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งเป็นไบโอพอลิเมอร์ที่เรียกว่า “ไคทิน” ในเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งนั้น ถ้ามีการสกัดออกมาก็เรียกได้ว่า มันเป็นสารพัดประโยชน์ตัวหนึ่งเลยทีเดียว
ในต่างประเทศมีการนำสารไคทินมาแปรสภาพให้อยู่ในรูปของสารที่สามารถละลายได้ง่ายในสารละลายทั่วไปเพื่อใช้งาน โดยแปรสภาพไคทินเป็นไคโทซานหรือเป็นสารอนุพันธ์อื่น ๆ ของไคทินและไคโทซานสำหรับนำไปใช้ประโยชน์กันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยา เคมี เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนการใช้ในการบำบัด น้ำเสีย
สำหรับในบ้านเราที่ผ่านมาก็ได้มีการศึกษาการสกัดไคทินจากเปลือกกุ้ง-หัวกุ้ง โดยหน่วยงานต่าง ๆ กันอยู่บ้าง
ดังเช่นที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วท. ที่สามารถนำไคทินจากเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งกุลาดำมาแปรสภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
1.      แปรเป็นไคโทซานและสารอนุพันธ์ของไคโทซานเพื่อใช้เป็นสารดูดซับโลหะอย่างเช่น ทองแดง นิเกิล และสังกะสีในน้ำทิ้งของโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
2.      การนำสารอนุพันธ์ของไคทินมาใช้เป็นสารผสมในแชมพูเพื่อช่วยทำให้เส้นผมเงางาม
3.      การนำไคโทซานมาใช้เป็นสารช่วยในการผลิตวัสดุป้องกันการรบกวนของกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า ดังเช่นอุปกรณ์บางชนิดที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่
การศึกษาวิจัยการนำเปลือกกุ้ง-หัวกุ้งมาใช้ผลิตไคทิน ไคโทซาน และสารอนุพันธ์ที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ดำเนินงานโดย อาจารย์สุมาลัย ศรีกำไลทอง และคณะซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยทั้งชาวไทยและญี่ปุ่น
โดยในงานวิจัยบางส่วนที่ได้ร่วมงานกับนักวิจัยชาวญี่ปุ่นนั้นจะร่วมกับตัวแทนจากสถาบันวิจัยญี่ปุ่น อันได้แก่ National Institute of Materials and Chemical Research และ Osaka National Research Institute ซึ่งการร่วมมือกับญี่ปุ่นนั้น ทำให้นักวิจัยชาวไทยได้มีโอกาสใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีบางอย่างที่ทันสมัยมากขึ้น

หากในอนาคตงานวิจัยมีความก้าวหน้าจนสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นงานในระดับอุตสาหกรรมแล้ว จะช่วยให้ประเทศไทยเราสามารถลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไคทินและไคโทซานจากต่างประเทศได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เปลือกกุ้ง-หัวกุ้ง ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการแปรรูปกุ้งที่บ้านเรามีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยนั่นเอง