ในยุค 1970s มีงานวิจัยคลาสสิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ Stanford Prison Experiment คนที่ทำชื่อด็อกเตอร์ ฟิลลิป ซิมบาร์โด (Philip Zimbardo) แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เขาเปิดรับอาสาสมัครผู้ที่อยากจะมาเข้าร่วมการทดลอง ‘คุกจำลอง’
จุดประสงค์ของการทดลองนี้ ดร. ซิมบาร์โด แกตั้งใจอยากจะดูว่า ‘อำนาจ’ จะสามารถทำให้คนธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนเลวได้จริงหรือไม่ ?
ผลปรากฏว่าได้ซะยิ่งกว่าได้อีกครับ
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและเป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่างานวิจัยนี้อาจจะทำให้ทราบเหตุผลของเหตุขัดแย้งและการกระทำ รุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผู้แสดงเป็นนักโทษและนักโทษในเรือนจำจริงๆ
ผู้รับการทดลอง
แรก เริ่ม ทางกลุ่มนักวิจัยประกาศรับสมัคร subject หรือผู้เข้ารับการทดลอง โดยมีค่าตอบแทนให้ด้วย และได้คัดเลือกนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯและแคนาดาจำนวน 24 คนมาเป็นหนูทดลอง โดยทั้ง 24 คนต้องไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง ไม่บกพร่องทางสภาพจิต และไม่มีประวัติอาชญากรรม พวกเขาทั้ง 24 ล้วนสุขภาพแข็งแรง ฉลาดเฉลียวและเป็น ชายหนุ่มปกติธรรมดาทั่วไป
ผู้รับการทดลองถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพัศดี และ กลุ่มนักโทษ โดยการสุ่มเลือก
- กลุ่มพัศดีทำงานเป็นกะ มี 3 กะ กะละ 3 คน เมื่อเลิกงานแล้วพัศดีสามารถกลับบ้านได้
- กลุ่มนักโทษ ต้องอาศัยอยู่ในเรือนจำ 24/7 พักห้องละสามคน
สภาพแวดล้อม
สถานที่ทำการทดลองอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พวกเขา่เปลี่ยนห้องใต้ิดินของตึกวิจัยเป็นเรือนจำขนาดเล็ก เปลี่ยนประตูเป็นลูกกรงแล้วใช้ห้องวิจัยแทนห้องขัง มีระเบียงให้นักโทษใช้เป็นที่ออกกำลังกาย ไม่มีทั้งหน้าต่างและนาฬิกา นอกจากนี้ยังมีตู้ขนาดเล็ก ใช้แทน Hole (ห้องมืด ห้องขังเดี่ยว) สำหรับลงโทษนักโทษที่ไม่ดี
ช่วงเวลา
*ทีแรกนักวิจัยกำหนดช่วงเวลาว่าจะทดลองทั้งหมด 14 วัน หากเพียง 6 วัน การทดลองนี้ก็ต้องถูกระงับลง*
วิธีการ
- จับตัวนักโทษ โดยให้รถตำรวจไปจับตัวนักศึกษาจากบ้านเหมือนจับคนร้ายจริงๆ ทุกประการ มีการกำหนดความผิดของแต่ละคน จากนั้นก็ผูกตา พานักโทษไปส่งยังเรือนจำ
- ขั้นตอนการส่งตัวนักโทษโดยปกติแล้วจะไม่มีการผูกตา แต่ทั้งนี้ทำเพื่อให้หนูทดลองตกใจและสับสนงุนงงมากยิ่งขึ้น
- นักโทษถูกสั่งให้ถอดเสื้อผ้า ให้พัศดีฉีดน้ำ ผลัดเปลี่ยนเป็นชุดนักโทษ (ชุดกระโปรงลักษณะคล้ายถุงกระสอบ) สวมถุงน่องที่หัว (เลียนแบบการโกนผมนักโทษ) ไม่ได้สวมชุดชั้นใน สวมรองเท้าแตะ และมีโซ่คล้องข้อเท้าตลอดเวลา
- นักวิจัยระบุว่า เครื่องแบบนี้ทำให้นักโทษชายรู้สึกอ่อนแอลง เพราะใส่กระโปรงเหมือนผู้หญิงแถมยังไม่มีชุดชั้นใน การให้ทุกคนทำผมทรงเดียวกันเหมือนในเรือนจำหรือกองทัพก็เพื่อลบลักษณะเฉพาะ บุคคลให้หมดไป ให้ทุกคนเหมือนกัน เช่นเดียวกับการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์นั่นเอง ส่วนโซ่คล้องคอจะทำให้พวกเขาระลึกเสมอว่าตัวเองเป็นนักโทษ
- อย่างไรก็ตาม เรือนจำของจริงส่วนใหญ่แล้วไม่ให้นักโทษใส่เครื่องแบบอะไรแบบนี้หรอก...
- นักโทษทุกคนจะมีเลขประจำตัว จะถูกเรียกด้วยเลข และทุกคนจะต้องแทนตัวเองด้วยเลขประจำตัวเท่านั้น
- หากต้องการไปเข้าห้องน้ำ ผู้คุมจะเป็นคนพาไป โดยนักโทษจะถูกปิดตาด้วยการเอาถุงคลุมหน้าด้วย
- มีการนับจำนวนนักโทษวันละหลายครั้ง
- ผู้คุมไม่ได้รับการฝึกอบรมอะไรทั้งนั้น แต่จะได้ใส่ชุดผู้คุม สวมแว่นตาดำเพื่อให้ไม่ให้นักโทษเห็นแววตา มีกระบองและกุญแจมือ
- ผู้คุมทำอย่างไรก็ได้ให้นักโทษอยู่ในกฎระเบียบ หากเกิดเหตุการณ์ที่นักโทษก่อจราจล พยศ ท้าทาย ผู้คุมต้องประชุมกันหาวิธีแก้ไขสถานการณ์เอาเอง แต่ห้ามทุกคนใช้ความรุนแรงเป็นอันขาด หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น การทดลองจะถูกระงับทันที
- มีการติดตั้งกล้องวีดีโอเก็บภาพและบทสนทนาของทุกคนตลอดเวลา และนักวิจัยสามารถเรียกนักโทษไปสัมภาษณ์ได้
- มีำกำหนดวันเยี่ยม ให้ครอบครัวมาเยี่ยมลูกหลานได้
- มีการเชิญบาทหลวงมาคุยกับนักโทษ
- มีการยื่นขอลดหย่อนโทษ (Parole)
ผลการทดลอง
- ช่วงแรกการทดลองดำเนินไปอย่างเรียบร้อยน่ารัก เพราะทุกคนยังตื่นเต้น และเห็นการทดลองนี้เหมือนค่ายพักแรมชนิดหนึ่ง นักโทษยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองนั้นถูกริบ "สิทธิมนุษยชน" ไปเรียบร้อยแล้ว
- ความเครียดเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อนักโทษรวมหัวกันสไตรค์ ไม่ยอมทำตามคำสั่งผู้คุม ผู้คุมจึงต้องคิดหาวิธีลงโทษ
- เนื่องจากถูกสั่งห้ามไม่ให้ใช้ความรุนแรง ผู้คุมจึงใช้วิธี "หยามเกียรติ" โดยการฉีดน้ำยาดับเพลิงใส่ สั่งให้ถอดเสื้อผ้า ริบเตียงออกจากห้องขัง หรือสั่งให้ทำความสะอาดโถส้วมด้วยมือเปล่า
- การทำโทษอื่นๆ ก็มี เช่น สั่งให้วิดพื้น ทีแรกนักวิจัยคิดว่าเป็นการลงโทษที่ดูเด็กเกินไป แต่มารู้ทีหลังว่า พวกนาซีก็ใช้วิธีนี้ลงโทษชาวยิวเช่นกัน ช่วงแรกนักโทษทำตามคำสั่งเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อความเครียดสั่งสม การวิดพื้นก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป ผู้คุมบางคนเหยียบนักโทษ หรือสั่งให้นักโทษคนอื่นขึ้นไปนั่งบนหลังนักโทษที่กำลังวิดพื้นด้วย
- ผู้คุมหวั่นเกรงว่าหากนักโทษรวมหัวกัน ก็จะทำร้ายพวกตนได้ พวกเขาจึงพยายามทำลายเอกภาพของนักโทษด้วย การ มอบสิทธิพิเศษให้นักโทษบางคน หมุนเวียนกันไป เพื่อให้นักโทษงุนงง อิจฉา และเกิดความสงสัยในตัวนักโทษด้วยกันเอง อดีตนักโทษที่เป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยระบุว่า ในเรือนจำจริงๆ ก็มีการใช้วิธีนี้เพื่อให้นักโทษแตกคอกันเช่นกัน
- ผู้คุมเพ่งเล็งนักโทษที่เป็น Prison Shutcall (หัวหน้า)และกลั่นแกล้งนักโทษคนนี้มากเป็นพิเศษ
- มีการ Lockdown หรือปิดห้องขังไม่ให้นักโทษออกมาข้างนอก ไม่ให้ไปเข้าห้องน้ำ ให้ขับถ่ายในห้อง ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ สั่งสมความเครียดมากยิ่งขึ้น
- นักโทษเก่าขู่นักโทษที่เข้ามาใหม่ถึงความเลวร้ายใน "ห้องทดลอง" แห่งนี้ และบอกว่าพวกเขาไม่มีวันออกไปได้ เช่นเดียวกับในคุกจริงที่นักโทษรุ่นพี่มักจะบอกเล่าเรื่องราวความเลวร้าย ต่างๆ ให้นักโทษหน้าใหม่ฟัง
- นักโทษหลายคนเครียด โวยวาย ร้องไห้ และต้องการออกจากการทดลอง บ้างอดอาหารเพื่อประท้วง
- ผู้คุมและนักโทษเข้าถึงบทบาทจนแยกไม่ออกระหว่างความจริงและการทดลอง พวกเขาเริ่มเรียกตัวเองด้วยหมายเลขนักโทษ เชื่อฟังคำสั่งของผู้คุมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา เชื่อฟังคำของเจ้าหน้าที่เมื่อเจ้าหน้าที่บอกให้รอผลยื่นขออภัยโทษ (ทั้งๆ ที่ผู้รับการทดลองสามารถขอออกจากการทดลองได้ตลอดเวลา)
- ในท้ายที่สุด สามารถแบ่งผู้คุมออกเป็นสามประเภท
- ผู้คุมที่ดี เข้มงวด ทำตามกฎ แต่ไม่รังแกนักโทษ
- ผู้คุมที่ใจดี ใจอ่อน ช่วยเหลือนักโทษเสมอ
- ผู้คุมชั้นเลว ชอบข่มเหงรังแกนักโทษเพื่อความเพลิดเพลิน
- พฤติกรรมของผู้รับการทดลองเปลี่ยนไป บางคนกลายเป็นพวกซาดิสต์ โดยที่นักวิจัยไม่สามารถเดาได้จากการสัมภาษณ์ขั้นต้น สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือผู้ที่มีอำนาจ(หรือศักดินา)สูงกว่าจะอดทนต่อสภาพภายในเรือนจำได้มากกว่า ดังจะเห็นได้จาก ผู้คุมไม่ขอออกจากการทดลองกลางคัน ไม่เคยมาสายหรือหยุดงานเลย พวกเขาเสียดายที่การทดลองจบลงด้วยเวลาเพียงหกวัน ในขณะที่นักโทษหลายคนขอออกจากการทดลอง และดีใจมากที่การทดลองจบสิ้นลงเสียที
พฤติกรรมของนักวิจัย
- พวกเขาคอยดูกลุ่มทดลองทางกล้องวีดีโอ และเรียกตัวหนูทดลองมาพูดคุยด้วยในบางครั้ง
- แต่พวกเขาไม่อนุญาตให้ผู้รับการทดลองออกจากการทดลองทันทีที่ผู้รับการ ทดลองร้องขอ และต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้รับการทดลองประสบปัญหา ต้องออกจากการทดลองจริงๆ
- เกิดข่าวลือว่า ผู้รับการทดลองที่ออกจากการทดลองไปก่อนจะพาพรรคพวกกลับมาชิงตัวนักโทษ นักวิจัยเตรียมการป้องกันราวกับว่าเรือนจำของพวกเขานั้นเป็นเรือนจำจริงๆ และเมื่อความจริงปรากฏว่าข่าวลือเป็นเพียงข่าวลือ นักโทษก็ถูกลงโทษด้วย แม้แต่ผู้วิจัยก็อินกับบทบาทเสียจนลืมจุดประสงค์ของการวิจัยไปเสียสิ้น
- ในวันที่ให้ผู้ปกครองเข้าเยี่ยม นักวิจัยเกรงว่าพ่อแม่จะโวยวายที่เห็นสภาพสุดโทรมของลูกชาย ก่อนหน้านั้นจึงเลี้ยงดูนักโทษอย่างดี ให้อาบน้ำ โกนหนวดเครา ทำความสะอาด จัดพนักงานต้อนรับแสนสวยไว้คอยต้อนรับคณะผู้ปกครอง เรียกว่าสร้างภาพสุดฤทธิ์
จุดจบ
- ผู้ปกครองเรียกร้องให้ปล่อยตัวลูกชายของตน ไม่ใช่นั้นแล้วจะมีการเรียกทนายความมาดำเนินการตามกฎหมาย
- ผู้คุมนิสัยเลวข่มเหงรังแกนักโทษ ผู้คุมนิสัยดีก็ได้แต่ปลง ไม่สามารถห้ามปรามได้
- ผู้คุมบางคนทำร้ายร่างกายนักโทษตอนกลางคืนเพราะคิดว่านักวิจัยไม่ได้จับ ตามองอยู่ เนื่องด้วยความเบื่อหน่ายทำให้วิธีการทำร้ายร่างกาย.... น่ารังเกียจมากขึ้นเรื่อยๆ
- มีผู้คัดค้านวิธีการทดลองและต่อต้านในสิ่งที่ผู้คุมทำกับนักโทษ (ล่ามนักโทษไปห้องน้ำพร้อมกันโดยมีถุงกระดาษครอบศีรษะ)
‘คุกจำลอง’ ของซิมบาร์โด ถือเป็นอุธาหรณ์อย่างดีว่า คนปกติธรรมดาทั่วไป ในสถานการณ์ที่ยุยงส่งเสริม ไม่ว่าใครก็สามารถกลายเป็นคนเลวได้
จากเว็บ : Pantip.com
http://verellie.exteen.com
ตีบทแตก
ตอบลบอา... อย่างกับสงครามจิตวิทยาเลยแฮะ
ตอบลบเอาเข้าจริงๆ ถ้าเจอแบบนี้เข้าไปไม่สติแตกก็เก่งมากเลยละนะ
เพราะสถานการณ์กดดันแบบนี้ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของมนุษย์ให้เกิดการคิดเพื่อให้อยู่รอด
ถ้าคิดว่าจะมีนักโทษสักคน ปาดคอผู้คุมหรือผู้วิจัย หรือผู้คุมผู้วิจัยจะหาวิธีทรมานโหดๆ กับนักโทษโดยที่ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ได้ ก็ไม่แปลกใจเลยสักนิดล่ะ
ถือว่าเป็นความรู้ที่น่าสนใจมากฮะ แค่คิดว่าจะมีคนกล้าบ้าพอที่จะทดลองเล่นกับใจมนุษย์ได้ขนาดนี้ก็ขนลุกใช้ได้เลยล่ะ
ความกดดัน ทำให้การมองเห็นพร่ามัว เลือกเชื่อในสิ่งที่จะทำให้ตนเองสบายใจที่สุด โดยไม่สนว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม
ตอบลบ