วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Milgram Experiment การวิจัยพฤติกรรมมนุษย์ที่ผู้บริหารควรรู้




วันนี้ไปพบบทความหนึ่งจาก pantip.com เห็นว่าน่าสนในดีเลยเอามาให้อ่านกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทดลองทางจิตวิทยาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ถ้านำมาปรับใช้สามารถแก้ปัญหาการบริหารได้มากมาย เชิญอ่านได้เลยครับ


Milgram Experiment เป็นอีกการทดลองหนึ่งซึ่งมักจะได้รับการกล่าวถึงควบคู่ไปกับคุกจำลองของซิมบาร์โด (ทำโดยคุณแสตนลี่ย์ มิลแกรม (Stanley Milgram) ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยมัธยมกับคุณซิมบาร์โดอีกที การทดลองของซิมบาร์โด้ (หาอ่านได้จากบทความชื่อ การวิจัย Stanford Prison Experiment จุดต่ำของใจมนุษย์” ใน WITได้ครับ

อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลอง จะถูกพามานั่งในห้องห้องหนึ่ง แล้วให้เล่นบทเป็น ‘อาจารย์’

ส่วนอีกห้องนึงที่อยู่ข้างๆ จะมีอาสาสมัครอีกคนหนึ่งเล่นบทเป็น ‘นักเรียน’ อาจารย์มีหน้าที่อ่านคำถามให้นักเรียนตอบ และทุกครั้งที่นักเรียนตอบผิด อาจารย์ก็จะต้องกดปุ่มทำโทษ ซึ่งพอกดปุ๊บจะมีกระแสไฟไปช็อตนักเรียน 1 ครั้ง ความแรงของไฟสามารถปรับได้ตั้งแต่อ่อนสุดคันๆ ไปจนกระทั่งถึง 450 โวลท์ซึ่งสามารถทำให้ตายได้ ยิ่งนักเรียนตอบผิดบ่อย ก็จะยิ่งโดนช็อต
แรงขึ้นเรื่อยๆ
แน่นอนว่า ในความเป็นจริงไม่มีการช็อตเชิ๊ตอะไรหรอกครับ คนที่เล่นเป็นอาจารย์แค่ถูกหลอกให้เชื่อเท่านั้น ส่วนนักเรียนที่อยู่อีกห้องนึงที่คอยส่งเสียงตอบและเสียง ‘โอ๊ย’ กลับมานั้น ก็ไม่ได้เป็นอาสาสมัครจริงๆ แต่เป็นนักแสดงซึ่งสมคบคิดกับทีมวิจัยของมิลแกรมมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว การศึกษาทั้งหมดนี้ก็คล้ายๆ กับกรณีคุกจำลอง คือเพียงแค่จะดูว่า คนดีๆ ปกติธรรมดาเนี่ย จะสามารถกระทำการโหดร้ายได้ซักแค่ไหน หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่บีบบังคับ            


ผลการทดลองปรากฏว่า พอเริ่มช้อตไปซักระยะหนึ่ง คนที่แสดงเป็นนักเรียนเริ่มร้องเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ อาสาสมัครผู้ไร้เดียงสาที่เล่นเป็นอาจารย์ก็มักจะตกใจ และหันไปถามคนคุมการทดลองว่า จะให้ช็อตต่อไปจริงๆ เหรอ

คนคุม ซึ่งอยู่ในชุดเสื้อกาวน์สีขาวแบบหมอใส่ จะตีหน้าเคร่งขรึม แล้วตอบกลับมาอย่างเย็นชาว่า “กรุณาดำเนินการต่อไป” อาจารย์ถึงจะลังเลแต่ก็มักจะปฏิบัติตามคำสั่ง ขนาดคนที่เล่นเป็นนักเรียนแกล้งทำเป็นหัวใจวาย แล้วสักพักก็เงียบเสียงไป อาจารย์ก็ยังคงช็อตต่อไปเรื่อยๆ เพียงเพราะผู้คุมแล็บสั่งว่า


“คุณต้องทดลองต่อไป”


“คุณไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นใดๆ ทั้งสิ้น”


“คุณไม่มีทางเลือก คุณต้องทดลองต่อไป”


ผล สุดท้าย จากอาสาสมัครอาจารย์ทั้งหมด มีคนที่ยินยอมช็อตนักเรียนจนถึงระดับ 450 โวลท์ มากถึง 65%! และไม่มีใครหยุดก่อนที่จะถึง 300 โวลท์เลยแม้แต่คนเดียว! ถ้านี่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่บทบาทสมมติละก็ คนพวกนี้คงได้กลายเป็นฆาตกรตัวจริงไปหมดแล้ว!         


บางครั้ง คนดีๆ ก็สามารถฝืนใจทำในสิ่งที่เลวร้ายได้ เพียงเพราะ ‘ไม่กล้าท้าทายคำสั่ง’


ทำไม ล่ะครับ? ทำไมสำนึกผิดชอบชั่วดีถึงได้อ่อนแรงลงคล้ายเป็นตะคริว? อะไรมั่ง เป็นปัจจัยกดดันให้คนยอมทำอะไรที่ขัดแย้งกับความรู้สึกตัวเองได้ถึงเพียง นั้น?


มิลแกรมทำการทดลองเพิ่มเติมต่ออีกหลากหลายรูปแบบแล้วก็ค้นพบว่า..


ประการ แรก ภาพพจน์ความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ผู้ออกคำสั่งสังกัดอยู่ มีผลเป็นอย่างยิ่ง ถ้าสถานที่จัดการทดลองอยู่ภายในมหาวิทยาลัย Yale คนจะยอมให้ความร่วมมือเชื่อฟังสูงกว่า เมื่อเทียบกับเวลาไปจัดการทดลองข้างนอก ตามห้องแถวที่ไม่มีใครรู้จัก            


ประการต่อมา ระยะการเผชิญหน้ากับผู้กุมอำนาจ ก็มีผลเป็นอย่างยิ่ง อาสาสมัครจะกล้าขัดคำสั่งมากกว่า ถ้าหากผู้คุมที่คอยบอกให้ดำเนินการช็อตต่อไป ไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในห้องด้วย แต่เป็นเพียงแค่เสียงที่ส่งมาตามสายโทรศัพท์ (กรณีนี้ บางคนใช้วิธีฉวยโอกาสที่ผู้คุมมองไม่เห็น แกล้งทำเป็นบอกว่ากดปุ่มช็อตไปแล้ว แต่จริงๆ ไม่ได้กด)

อีก สิ่งนึงที่มีผลก็คือ ระยะห่างระหว่างเหยื่อผู้ถูกกระทำกับตัวผู้กระทำ.. ในการทดลองที่นักเรียนถูกจับมานั่งตรงเก้าอี้ข้างๆ ตัวอาจารย์เลย อาจารย์จะไม่ค่อยกล้ากดช็อตเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับเวลาที่นั่งกันอยู่คนละห้องแล้วได้ยินแค่เสียง..

อัน นี้ ว่าไปก็คงคล้ายๆ กับพวกที่ถ้าให้สั่งข้าวขาหมูกิน กินได้ แต่ถ้าให้ไปฆ่าหมูกินเอง ไม่เอา.. คนเรา เวลามัน ‘ห่าง’ จากผลลัพธ์การกระทำของตนเอง บางทีมันก็ทำให้รู้สึกผิดน้อยลง ตราบใดที่เหยื่อยังไม่มานอนดิ้นตะแหง่วๆ อยู่ตรงหน้า ตราบใดที่ไม่ได้สบตากัน มันก็ไม่ยากเท่าไหร่ ที่จะเพิกเฉยต่อความสงสารปรานี เหมือนนักบินทิ้งระเบิด กดปุ่มทีเดียวฆ่าคนได้เป็นหมื่น แต่ถ้าให้ลงไปเดินเอาตะเกียบไล่แทงทีละคน อาจจะทำไม่ได้       
บางครั้ง ระยะ ‘ห่าง’ ตรงนี้ อาจไม่จำเป็นต้องวัดกันเป็นเมตรด้วยซ้ำ คน 2 คนยืนอยู่ข้างๆ กัน ฝ่ายนึงก็สามารถลงมือทรมานอีกฝ่ายนึงอย่างเลือดเย็นได้

หาก อาศัย ‘ความห่างทางจิตใจ’ คิดซะว่าอีกฝ่ายนึงเป็นพวกที่ด้อยกว่า ลดความเป็นคนของเขาลง โดยการเอาถุงมาคลุมหัว เอาผ้ามาปิดตา จับแก้ผ้า ห้ามพูด ห้ามเถียง ห้ามมองหน้า ทำให้พวกเขาเปลี่ยนสภาพจากคนกลายเป็นวัตถุ อย่าให้มีวี่แววของความรู้สึก จิตใจ หลงเหลือเล็ดรอดออกมา มองไปให้เห็นเป็นแค่เศษหินก้อนนึง คราวนี้จะแกล้งจะเล่นยังไงก็ได้ ย่อมไม่ผิด


ภาพดังกล่าวพบเห็นได้ทั่วไปตามค่ายกักกันนักโทษ ค่ายเชลยสงครามทั้งหลาย
หรือแม้แต่กระทั่ง ค่ายรับน้องโหดบางแห่ง ก็ยังปรากฏภาพที่คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ เทคนิคสลายความเป็นคนของผู้ถูกกระทำ ลดความสำนึกผิดของผู้กระทำ เพิ่มระยะห่างทางจิตใจ ได้ผลดีอย่างน่ากลัว จนแม้แต่รุ่นพี่ผู้หญิงที่ท่าทางอินโนเซนต์ๆ ก็ยังสามารถอินและมีส่วนร่วมไปกับกิจกรรมการล่วงละเมิดผู้อื่นได้อย่างหน้า ชื่นตาบาน             


ในการทดลองอีกเวอร์ชั่นนึง มิลแกรมแกล้งทำเป็นทดสอบอาจารย์ทีละ 3 คนพร้อมๆ กัน โดยที่จริงๆ แล้ว มีแค่ 1 คนในนั้นเท่านั้น ที่เป็นอาสาสมัครจริงๆ ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงพวกเดียวกับมิลแกรมหมด ผลการทดลองปรากฏว่า ในกรณีที่อาจารย์ปลอมทั้งสองแกล้งทำเป็นยินยอมช็อตนักเรียนจนถึง 450 โวลท์ทั้งคู่


อาจารย์คนที่ 3 ซึ่งเป็นอาสาสมัครตัวจริง จะมีพวกที่รู้สึกถูกกดดันจนต้องยอมให้ความร่วมมือตามไปด้วย มากถึง 90% ! (อีก 10% ที่ไม่ยอมนี่ ถือว่าฮีโร่มากๆ) ในทางกลับกัน ถ้าอาจารย์ปลอมทั้งสองแกล้งทำเป็นขัดขืนผู้คุม ไม่ยอมทำการช็อตต่อไป พวกอาจารย์อาสาสมัครส่วนใหญ่ (90%) ก็มักจะร่วมขัดขืน และไม่ยอมช็อตตามไปด้วยเช่นกัน   

ในสถาพแวดล้อมที่ถูกบีบบังคับให้ตกเป็น ส่วนหนึ่งของความชั่วร้าย หากไม่มีใครสักคนนึงลุกขึ้นมายืนหยัดต่อสู้ ทุกคนก็พร้อมที่จะปิดปากเงียบ และปล่อยเลยตามเลยกันหมด คนเราลึกๆ แล้วไม่มีใครอยากแตกต่างแปลกแยก พวกเราล้วนอยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม คนดีๆ บางครั้งที่ยอมทนเพิกเฉยต่อสิ่งผิด อาจเป็นเพราะ ‘กลัวการแตกฝูง’    


เรื่องอื่น การวิจัย Stanford Prison Experiment ‘คุกจำลอง’ จุดต่ำของใจมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น