วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับปรัชญาการทำงาน


วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนเขาได้รับฉายาว่าเป็น เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา หรือไม่ก็ ปราชญ์แห่งโอมาฮา นอกจากนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ยังเป็นผู้มีชื่อเสียงจากปรัชญาการลงทุนแบบเน้นคุณค่า


บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า "ความมั่งคั่งของเขาไม่ได้มาจากคุณสมบัติพิเศษหรือการทำงานหนัก แต่มาจากการที่เขาเกิดมาถูกที่และถูกเวลา ผนวกกับความสามารถเฉพาะตัวที่สามารถแปลงหุ้นให้กลายเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล"


หลักการลงทุนที่สำคัญของนายวอร์เรน บัฟเฟต ก็คือ จะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีความรู้  เขาบอกกับคนอื่นๆ ว่า


1.จงพิจารณาความเป็นไปได้ที่ว่าการชอบทำงานเกินเวลาจนเป็นนิสัยของคุณนั้นแสดงถึงว่าคุณต้องการสำนักงานมากกว่าที่สำนักงานต้องการคุณ


2. อย่าทำงานเกินเวลาจนติดเป็นนิสัยเมื่อมันกลายเป็นนิสัยจะทำให้มันหมดคุณค่า


3. ปล่อยตัวตามสบายได้ แต่อย่าให้ถึงกับดูโทรมนัก


4. จงทำตัวให้ร่าเริง คอยช่วยเหลือและทำหน้าที่ให้ดีในการทำงานของคุณคุณจะพบว่าไม่มีใครมาแข่งขันกับคุณ


5. อย่าได้ไว้เนื้อเชื่อใจว่าความสามารถ ความมีเสน่ห์และจินตนาการจะนำพาคุณขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดได้คุณควรจะมีผมสีเทาและพุงป่องกลางอีกหน่อยด้วย


6.อย่าได้เป็นกังวลในเรื่องการปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ในสำนักงานแต่เป็นกังวลกับการปล่อยให้ชีวิตของคุณ เปล่าประโยชน์จะดีกว่า


7. อย่าโทษคอมพิวเตอร์สำหรับความผิดพลาดที่คุณทำขึ้นเอง


8. ลองคิดถึงเวลาที่คุณไม่มีเงินเดือนดูบ้าง


9. จงถือว่าสุขภาพคือทรัพย์สมบัติประการแรก


10. อย่าได้ก้มหน้าก้มตาทำงานจนไม่เคยสังเกตเห็นนก ต้นไม้ ดอกไม้และปุยเมฆ


11. ในเวลาอาหารกลางวัน จงเลือกรับประทานอย่างฉลาดแต่ในบางครั้งจงรับประทานให้เต็มที่


12.เมื่อใดที่สำนักงานทำให้คุณรู้สึกเศร้าสร้อยจงนึกเสียว่านี่เป็นเกมกีฬาสำหรับคนที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่และอย่าได้นำมันกลับไปบ้านด้วย


13. จำไว้ว่ายังมีอะไรๆอีกมากในการทำงานและในชีวิตมากกว่าทำงานเพื่อให้มีชีวิตอยู่หรือมีชีวิตอยู่เพื่อจะทำงาน


14. อย่าทำเป็นคนตรงต่อเวลา ไปถึงก่อนเวลาจะดีกว่า


15.อย่าได้หลอกตัวเองว่าการมีสิ่งของรกอยู่บนโต๊ะหมายถึงการมีงานมากมันเพียงแต่หมายความว่าคุณยังไม่ได้ทำมันนั่นเอง


16.จัดเก็บโต็ะของคุณให้เรียบร้อยบุคคลส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะมีโต๊ะทำงานที่ว่างโล่ง


17.อย่าเป็นกังวลมากจนเกินไปว่าเพื่อนร่วมงานคิดอย่างไรกับคุณเพราะส่วนใหญ่ในชีวิตของพวกเขาไม่ได้คิดถึงคุณเลย


18. จงร่ำรวยเงินสด


บัฟเฟตต์เริ่มต้นการลงทุนครั้งแรก ตอนที่เขาอายุ 6 ขวบ เขาได้จ่ายเงิน 25 เซนต์ซื้อโค๊กจำนวน 6 แพ็ค และนำมาขาย ในราคา กระป๋องละ หนึ่งเหรียญ และเมื่ออายุ 11 ขวบ เขาทำหน้าที่เป็นเด็กจดกระดานในบริษัทหุ้นของพ่อของเขา และในปีเดียวกันนั้น เขาเริ่มซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก ด้วยเงินอันน้อยนิด เขาสามารถซื้อได้แค่ 3 หุ้น หุ้น Cities Service Preferred ในราคาหุ้นละ 38 เหรียญ เมื่อซื้อแล้วราคาได้ตกมา 27 เหรียญ แต่เมื่อหุ้นกลับขึ้นมาอีกที เขาก็ขายไปที่ 40 เหรียญ นั่นเป็นการทำกำไรครั้งแรกในชีวิต ของเขา ได้มาเน็ต ๆ แค่ 5 เหรียญ หลังจากนั้นต่อมาไม่ทราบว่าใช้เวลานานนานเท่าไร หุ้นนั้นทะยานไปถึงหุ้นละ 200 เหรียญ    

วอร์เรน บัฟเฟตต์ รวยติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกทุกปี ขนาดเริ่มต้นทำธุรกิจไวขนาดนี้ แต่ปัจจุบันเขาบอกว่า 
รู้สึกเสียใจที่เริ่มช้าไป!

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

The Monster Study การพูดไม่ดีส่งผลกับบุคลิกภาพของเด็ก


The Monster Study เป็นการทดสอบการพูด ติดอ่างของเด็ก โดยใช้เด็กกำพร้า 22 คน(อายุ 5-15) ใน ดาเวนพอร์ท, ไอโอวา ปี 1939 ดำเนินการโดย จอห์นสัน(Wendell Johnson) แห่งมหาลัยไอโอวา จอห์นสันเลือกหนึ่งในนักศึกษาระดับบัณฑิตของเขาแมรี่ ทิวเดอร์ (Mary Tudor) ดำเนินการทดสอบและวิจัยดูแลเด็กกับด้วย สำหรับวิธีการทดลองจอห์นสันจะแบ่งเด็กเป็นสองกลุ่ม เด็กกลุ่มหนึ่งจะได้รับฟังแต่คำพูดที่ดี คำพูดสรรเสริญในแง่บวก เด็กอีกกลุ่มได้รับฟังแต่ถ้อยคำที่หยาบช้า ทับถม ติเตียนแง่ลบ ผลการทดลองพบว่า เด็กที่ฟังแต่คำชมสามารถพูดคล่องแคล่วและพูดจาสุภาพ แต่ปัญหาของการทดลองนี้คือกลุ่มที่ 2 ที่เป็นกลุ่มเด็กที่ฟังด้วยคำพูดในแง่ลบ มีปัญหาทางจิต ดื้อ เก็บกด ไม่ค่อยกับคนอื่น สร้างโลกส่วนตัว ชอบพูดติดอ่าง และส่งผลกระทบต่อการใช้ภาษาไปชั่วระยะหนึ่ง การทดลองนี้ทำให้จอห์นสันเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมากและสังคมเริ่มตื่น ตัวการทดลองนี้เทียบเท่ากับการทดลองมนุษย์ของพวกนาซีในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมหาลัยไอโอวาต้องออกมาขอโทษต่อสาธารณะชนในการทดลอง The Monster Study ในปี 2001 (และจ่ายเงินค่าเสียหายแก่เด็กกำพร้า 6 คน เป็นจำนวนถึง 920,000 ดอลลาร์)

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก Warren Buffet วอร์เรน บัพเฟตต์

ชีวิตพอเพียงของมหาเศรษฐีอันดับสองของโลก Warren Buffet วอร์เรน บัพเฟตต์

แปลโดย Wilai Trakulsin

มีรายการสัมภาษณ์หนึ่งชั่วโมงของสถานีโทรทัศน์ CNBC สัมภาษณ์ วอร์เรน บัพเฟตต์ มหาเศรษฐีอันดับสองของโลก ( รองจากบิล เกตส์) ซึ่งบริจาคเงินให้การกุศล 31,000 ล้านดอลล่าร์

ต่อไปนี้คือแง่มุมบางส่วนที่น่าสนใจยิ่งจากชีวิตของเขา:

1. เขาเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบ และปัจจุบันบอกว่ารู้สึกเสียใจที่เริ่มช้าไป! 
2. เขาซื้อไร่เล็กๆ เมื่ออายุ 14 โดยใช้เงินเก็บจากการส่งหนังสือพิมพ์ 
3. เขายังอาศัยอยู่ในบ้านเล็กหลังเดิมขนาด 3 ห้องนอน กลางเมืองโอมาฮา ที่ซื้อไว้หลังแต่งงานเมื่อ 50 ปีก่อน เขาบอกว่ามีทุกสิ่งที่ต้องการในบ้านหลังนี้ บ้านเขาไม่มีรั้วหรือกำแพงล้อม 
4. เขาขับรถไปไหนมาไหนต้วยตนเอง ไม่มีคนขับรถหรือคนคุ้มกัน 
5. เขาไม่เคยเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัว แม้จะเป็นเจ้าของบริษัทขายเครื่องบินส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
6. บริษัท เบิร์กไช แฮทะเวย์ ของเขามีบริษัทในเครือ 63 บริษัท เขาเขียนจดหมายถึงซีอีโอของบริษัทเหล่านี้เพียงปีละฉบับเดียว เพื่อให้เป้าหมายประจำปี เขาไม่เคยนัดประชุมหรือโทรคุยกับซีอีโอเหล่านี้เป็นประจำ

7. เขาให้กฎแก่ ซีอีโอ เพียงสองข้อ 
กฎข้อ 1 อย่าทำให้เงินของผู้ถือหุ้นเสียหาย 
กฎข้อ 2 อย่าลืมกฎข้อ 1

8. เขาไม่สมาคมกับพวกไฮโซ การพักผ่อนเมื่อกลับบ้าน คือทำข้าวโพดคั่วกินและดูโทรทัศน์

9. บิล เกตส์ คนที่รวยที่สุดในโลก เพิ่งพบเขาเป็นครั้งแรกเมื่อห้าปีก่อน บิล เกตส์คิดว่าตนเองไม่มีอะไรเหมือนวอร์เรน บัพเฟตต์เลย จึงให้เวลานัดไว้เพียงครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อบิล เกดส์ได้พบบัฟเฟตต์จริงๆ ปรากฏว่าคุยกันนานถึงสิบชั่วโมง และบิล เกตส์กลายเป็นผู้มีศรัทธาในตัววอร์เรน บัพเฟตต์

10. วอร์เรน บัพเฟตต์ ไม่ใช้มือถือ และไม่มีคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน

11. เขาแนะนำเยาวชนคนหนุ่มสาวว่า: จงหลีกห่างจากบัตรเครดิตและลงทุนในตัวคุณเอง



ที่สุดของชีวิต คือ มีปัจจัย ๔ อย่างเพียงพอนั่นเอง

๑. มหาเศรษฐีหรือยาจก กินข้าวแล้วก็อิ่ม 1 มื้อ เท่ากัน

๒. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีเสื้อผ้ากี่ชุด ก็ใส่ได้ทีละชุด เท่ากัน

๓. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีบ้านหลังใหญ่แค่ไหน พื้นที่ที่ใช้จริงๆ ก็เหมือนกันคือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว เหมือนกัน

๔. มหาเศรษฐีหรือยาจก จะมียารักษาโรคดีแค่ไหน ยื้อชีวิตไปได้นานเพียงไร สุดท้ายก็ต้องตาย เหมือนกัน

มองทะลุวัตถุนิยม และเห็นความหมายที่แท้จริงของชีวิต

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เริ่มต้นด้วยขันติ ความอดทน




“ ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก  แปลว่า ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และ มีสุขเสมอ , ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย ”

ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่น


การสร้างตัวด้วยความอดทน
งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ


เคยมีคนไปถาม   โทมัส อัลวา เอดิสันว่า อัจฉริยะเกิดจากอะไร เขาตอบกลับไปโดยไม่คิดว่า


“ อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ อีก 99 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากความอดทนพากเพียร ทำไม่หยุด”


คนที่ต้องการสร้างตัว สิ่งแรกที่ต้องมีก็คือความอดทน ช่วงแรกอาจยังไม่ต้องคิด ใครมีงานอะไรให้ทำก็ทำมันทุกอย่างให้หมด แล้วก็จำอย่างเดียว เพราะเรายังโง่อยู่ เมื่อผ่านการทำงานหลายอย่างจะทำให้ความรู้ของเรามีมากขึ้น ถ้าเราไม่อดทนก็จะไม่ทันได้เรียนรู้ และอาจล้มเลิกความตั้งใจทำงานเสียก่อน


ลักษณะที่สำคัญยิ่งของขันติ คือ ตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้น จะต้องมีใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สรุปคือ
    ๑.อดทนถอนตัวหรือหลีกเลี่ยงจากความชั่วให้ได้
    ๒.อดทนทำความดีต่อไป
    ๓.อดทนรักษาใจไว้ไม่ให้เศร้าหมอง


สุดท้ายต้องไม่ลืมถามตัวเองอยู่เสมอเป้าหมายของงานคืออะไร ตรงกับสิ่งที่เราต้องการมั้ย คนเราทำงานนานวันเข้าเผลอลืมไปว่าตัวเองต้องการอะไร ส่วนใหญ่นึกขึ้นมาได้ตอนที่สายแล้ว ฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไปถามตัวเองบ้างว่า เป้าหมายของเราคืออะไร

ขอให้ทุกคนสมหวัง โชคดีครับ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การวิจัย Stanford Prison Experiment ‘คุกจำลอง’ จุดต่ำของใจมนุษย์

 

ในยุค 1970s มีงานวิจัยคลาสสิกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ Stanford Prison Experiment คนที่ทำชื่อด็อกเตอร์ ฟิลลิป ซิมบาร์โด (Philip Zimbardo) แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด เขาเปิดรับอาสาสมัครผู้ที่อยากจะมาเข้าร่วมการทดลอง ‘คุกจำลอง’



จุดประสงค์ของการทดลองนี้ ดร. ซิมบาร์โด แกตั้งใจอยากจะดูว่า ‘อำนาจ’ จะสามารถทำให้คนธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนเลวได้จริงหรือไม่ ?



ผลปรากฏว่าได้ซะยิ่งกว่าได้อีกครับ


งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและเป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่างานวิจัยนี้อาจจะทำให้ทราบเหตุผลของเหตุขัดแย้งและการกระทำ รุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผู้แสดงเป็นนักโทษและนักโทษในเรือนจำจริงๆ
ผู้รับการทดลอง
แรก เริ่ม ทางกลุ่มนักวิจัยประกาศรับสมัคร subject หรือผู้เข้ารับการทดลอง โดยมีค่าตอบแทนให้ด้วย และได้คัดเลือกนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯและแคนาดาจำนวน 24 คนมาเป็นหนูทดลอง โดยทั้ง 24 คนต้องไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง ไม่บกพร่องทางสภาพจิต และไม่มีประวัติอาชญากรรม พวกเขาทั้ง 24 ล้วนสุขภาพแข็งแรง ฉลาดเฉลียวและเป็น ชายหนุ่มปกติธรรมดาทั่วไป
ผู้รับการทดลองถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพัศดี และ กลุ่มนักโทษ โดยการสุ่มเลือก
  • กลุ่มพัศดีทำงานเป็นกะ มี 3 กะ กะละ 3 คน เมื่อเลิกงานแล้วพัศดีสามารถกลับบ้านได้
  • กลุ่มนักโทษ ต้องอาศัยอยู่ในเรือนจำ 24/7 พักห้องละสามคน
สภาพแวดล้อม
สถานที่ทำการทดลองอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พวกเขา่เปลี่ยนห้องใต้ิดินของตึกวิจัยเป็นเรือนจำขนาดเล็ก เปลี่ยนประตูเป็นลูกกรงแล้วใช้ห้องวิจัยแทนห้องขัง มีระเบียงให้นักโทษใช้เป็นที่ออกกำลังกาย ไม่มีทั้งหน้าต่างและนาฬิกา นอกจากนี้ยังมีตู้ขนาดเล็ก ใช้แทน Hole (ห้องมืด ห้องขังเดี่ยว) สำหรับลงโทษนักโทษที่ไม่ดี
ช่วงเวลา
*ทีแรกนักวิจัยกำหนดช่วงเวลาว่าจะทดลองทั้งหมด 14 วัน หากเพียง 6 วัน การทดลองนี้ก็ต้องถูกระงับลง*
วิธีการ
  1. จับตัวนักโทษ โดยให้รถตำรวจไปจับตัวนักศึกษาจากบ้านเหมือนจับคนร้ายจริงๆ ทุกประการ มีการกำหนดความผิดของแต่ละคน จากนั้นก็ผูกตา พานักโทษไปส่งยังเรือนจำ
    • ขั้นตอนการส่งตัวนักโทษโดยปกติแล้วจะไม่มีการผูกตา แต่ทั้งนี้ทำเพื่อให้หนูทดลองตกใจและสับสนงุนงงมากยิ่งขึ้น
  2. นักโทษถูกสั่งให้ถอดเสื้อผ้า ให้พัศดีฉีดน้ำ ผลัดเปลี่ยนเป็นชุดนักโทษ (ชุดกระโปรงลักษณะคล้ายถุงกระสอบ) สวมถุงน่องที่หัว (เลียนแบบการโกนผมนักโทษ) ไม่ได้สวมชุดชั้นใน สวมรองเท้าแตะ และมีโซ่คล้องข้อเท้าตลอดเวลา
    • นักวิจัยระบุว่า เครื่องแบบนี้ทำให้นักโทษชายรู้สึกอ่อนแอลง เพราะใส่กระโปรงเหมือนผู้หญิงแถมยังไม่มีชุดชั้นใน การให้ทุกคนทำผมทรงเดียวกันเหมือนในเรือนจำหรือกองทัพก็เพื่อลบลักษณะเฉพาะ บุคคลให้หมดไป ให้ทุกคนเหมือนกัน เช่นเดียวกับการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์นั่นเอง ส่วนโซ่คล้องคอจะทำให้พวกเขาระลึกเสมอว่าตัวเองเป็นนักโทษ
    • อย่างไรก็ตาม เรือนจำของจริงส่วนใหญ่แล้วไม่ให้นักโทษใส่เครื่องแบบอะไรแบบนี้หรอก...
  3. นักโทษทุกคนจะมีเลขประจำตัว จะถูกเรียกด้วยเลข และทุกคนจะต้องแทนตัวเองด้วยเลขประจำตัวเท่านั้น
  4. หากต้องการไปเข้าห้องน้ำ ผู้คุมจะเป็นคนพาไป โดยนักโทษจะถูกปิดตาด้วยการเอาถุงคลุมหน้าด้วย
  5. มีการนับจำนวนนักโทษวันละหลายครั้ง
  6. ผู้คุมไม่ได้รับการฝึกอบรมอะไรทั้งนั้น แต่จะได้ใส่ชุดผู้คุม สวมแว่นตาดำเพื่อให้ไม่ให้นักโทษเห็นแววตา มีกระบองและกุญแจมือ
  7. ผู้คุมทำอย่างไรก็ได้ให้นักโทษอยู่ในกฎระเบียบ หากเกิดเหตุการณ์ที่นักโทษก่อจราจล พยศ ท้าทาย ผู้คุมต้องประชุมกันหาวิธีแก้ไขสถานการณ์เอาเอง แต่ห้ามทุกคนใช้ความรุนแรงเป็นอันขาด หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น การทดลองจะถูกระงับทันที
  8. มีการติดตั้งกล้องวีดีโอเก็บภาพและบทสนทนาของทุกคนตลอดเวลา และนักวิจัยสามารถเรียกนักโทษไปสัมภาษณ์ได้
  9. มีำกำหนดวันเยี่ยม ให้ครอบครัวมาเยี่ยมลูกหลานได้
  10. มีการเชิญบาทหลวงมาคุยกับนักโทษ
  11. มีการยื่นขอลดหย่อนโทษ (Parole)
ผลการทดลอง
  1. ช่วงแรกการทดลองดำเนินไปอย่างเรียบร้อยน่ารัก เพราะทุกคนยังตื่นเต้น และเห็นการทดลองนี้เหมือนค่ายพักแรมชนิดหนึ่ง นักโทษยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองนั้นถูกริบ "สิทธิมนุษยชน" ไปเรียบร้อยแล้ว
  2. ความเครียดเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อนักโทษรวมหัวกันสไตรค์ ไม่ยอมทำตามคำสั่งผู้คุม ผู้คุมจึงต้องคิดหาวิธีลงโทษ
  3. เนื่องจากถูกสั่งห้ามไม่ให้ใช้ความรุนแรง ผู้คุมจึงใช้วิธี "หยามเกียรติ" โดยการฉีดน้ำยาดับเพลิงใส่ สั่งให้ถอดเสื้อผ้า ริบเตียงออกจากห้องขัง หรือสั่งให้ทำความสะอาดโถส้วมด้วยมือเปล่า
  4. การทำโทษอื่นๆ ก็มี เช่น สั่งให้วิดพื้น ทีแรกนักวิจัยคิดว่าเป็นการลงโทษที่ดูเด็กเกินไป แต่มารู้ทีหลังว่า พวกนาซีก็ใช้วิธีนี้ลงโทษชาวยิวเช่นกัน ช่วงแรกนักโทษทำตามคำสั่งเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อความเครียดสั่งสม การวิดพื้นก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป ผู้คุมบางคนเหยียบนักโทษ หรือสั่งให้นักโทษคนอื่นขึ้นไปนั่งบนหลังนักโทษที่กำลังวิดพื้นด้วย
  5. ผู้คุมหวั่นเกรงว่าหากนักโทษรวมหัวกัน ก็จะทำร้ายพวกตนได้ พวกเขาจึงพยายามทำลายเอกภาพของนักโทษด้วย การ มอบสิทธิพิเศษให้นักโทษบางคน หมุนเวียนกันไป เพื่อให้นักโทษงุนงง อิจฉา และเกิดความสงสัยในตัวนักโทษด้วยกันเอง อดีตนักโทษที่เป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยระบุว่า ในเรือนจำจริงๆ ก็มีการใช้วิธีนี้เพื่อให้นักโทษแตกคอกันเช่นกัน
  6. ผู้คุมเพ่งเล็งนักโทษที่เป็น Prison Shutcall (หัวหน้า)และกลั่นแกล้งนักโทษคนนี้มากเป็นพิเศษ
  7. มีการ Lockdown หรือปิดห้องขังไม่ให้นักโทษออกมาข้างนอก ไม่ให้ไปเข้าห้องน้ำ ให้ขับถ่ายในห้อง ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ สั่งสมความเครียดมากยิ่งขึ้น
  8. นักโทษเก่าขู่นักโทษที่เข้ามาใหม่ถึงความเลวร้ายใน "ห้องทดลอง" แห่งนี้ และบอกว่าพวกเขาไม่มีวันออกไปได้ เช่นเดียวกับในคุกจริงที่นักโทษรุ่นพี่มักจะบอกเล่าเรื่องราวความเลวร้าย ต่างๆ ให้นักโทษหน้าใหม่ฟัง
  9. นักโทษหลายคนเครียด โวยวาย ร้องไห้ และต้องการออกจากการทดลอง บ้างอดอาหารเพื่อประท้วง
  10. ผู้คุมและนักโทษเข้าถึงบทบาทจนแยกไม่ออกระหว่างความจริงและการทดลอง พวกเขาเริ่มเรียกตัวเองด้วยหมายเลขนักโทษ เชื่อฟังคำสั่งของผู้คุมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา เชื่อฟังคำของเจ้าหน้าที่เมื่อเจ้าหน้าที่บอกให้รอผลยื่นขออภัยโทษ (ทั้งๆ ที่ผู้รับการทดลองสามารถขอออกจากการทดลองได้ตลอดเวลา)
  11. ในท้ายที่สุด สามารถแบ่งผู้คุมออกเป็นสามประเภท
    • ผู้คุมที่ดี เข้มงวด ทำตามกฎ แต่ไม่รังแกนักโทษ
    • ผู้คุมที่ใจดี ใจอ่อน ช่วยเหลือนักโทษเสมอ
    • ผู้คุมชั้นเลว ชอบข่มเหงรังแกนักโทษเพื่อความเพลิดเพลิน
  12. พฤติกรรมของผู้รับการทดลองเปลี่ยนไป บางคนกลายเป็นพวกซาดิสต์ โดยที่นักวิจัยไม่สามารถเดาได้จากการสัมภาษณ์ขั้นต้น สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือผู้ที่มีอำนาจ(หรือศักดินา)สูงกว่าจะอดทนต่อสภาพภายในเรือนจำได้มากกว่า ดังจะเห็นได้จาก ผู้คุมไม่ขอออกจากการทดลองกลางคัน ไม่เคยมาสายหรือหยุดงานเลย พวกเขาเสียดายที่การทดลองจบลงด้วยเวลาเพียงหกวัน ในขณะที่นักโทษหลายคนขอออกจากการทดลอง และดีใจมากที่การทดลองจบสิ้นลงเสียที
พฤติกรรมของนักวิจัย
  1. พวกเขาคอยดูกลุ่มทดลองทางกล้องวีดีโอ และเรียกตัวหนูทดลองมาพูดคุยด้วยในบางครั้ง
  2. แต่พวกเขาไม่อนุญาตให้ผู้รับการทดลองออกจากการทดลองทันทีที่ผู้รับการ ทดลองร้องขอ และต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้รับการทดลองประสบปัญหา ต้องออกจากการทดลองจริงๆ
  3. เกิดข่าวลือว่า ผู้รับการทดลองที่ออกจากการทดลองไปก่อนจะพาพรรคพวกกลับมาชิงตัวนักโทษ นักวิจัยเตรียมการป้องกันราวกับว่าเรือนจำของพวกเขานั้นเป็นเรือนจำจริงๆ และเมื่อความจริงปรากฏว่าข่าวลือเป็นเพียงข่าวลือ นักโทษก็ถูกลงโทษด้วย แม้แต่ผู้วิจัยก็อินกับบทบาทเสียจนลืมจุดประสงค์ของการวิจัยไปเสียสิ้น
  4. ในวันที่ให้ผู้ปกครองเข้าเยี่ยม นักวิจัยเกรงว่าพ่อแม่จะโวยวายที่เห็นสภาพสุดโทรมของลูกชาย ก่อนหน้านั้นจึงเลี้ยงดูนักโทษอย่างดี ให้อาบน้ำ โกนหนวดเครา ทำความสะอาด จัดพนักงานต้อนรับแสนสวยไว้คอยต้อนรับคณะผู้ปกครอง เรียกว่าสร้างภาพสุดฤทธิ์
จุดจบ
  1. ผู้ปกครองเรียกร้องให้ปล่อยตัวลูกชายของตน ไม่ใช่นั้นแล้วจะมีการเรียกทนายความมาดำเนินการตามกฎหมาย
  2. ผู้คุมนิสัยเลวข่มเหงรังแกนักโทษ ผู้คุมนิสัยดีก็ได้แต่ปลง ไม่สามารถห้ามปรามได้
  3. ผู้คุมบางคนทำร้ายร่างกายนักโทษตอนกลางคืนเพราะคิดว่านักวิจัยไม่ได้จับ ตามองอยู่ เนื่องด้วยความเบื่อหน่ายทำให้วิธีการทำร้ายร่างกาย.... น่ารังเกียจมากขึ้นเรื่อยๆ
  4. มีผู้คัดค้านวิธีการทดลองและต่อต้านในสิ่งที่ผู้คุมทำกับนักโทษ (ล่ามนักโทษไปห้องน้ำพร้อมกันโดยมีถุงกระดาษครอบศีรษะ)


‘คุกจำลอง’ ของซิมบาร์โด ถือเป็นอุธาหรณ์อย่างดีว่า คนปกติธรรมดาทั่วไป ในสถานการณ์ที่ยุยงส่งเสริม ไม่ว่าใครก็สามารถกลายเป็นคนเลวได้            


จากเว็บ :  Pantip.com

              http://verellie.exteen.com

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มวยไทย มรดกไทย มรดกโลก




“คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้”

คำตรัสสรรเสริญ ”นายขนมต้ม” ของพระเจ้ามังระแห่งเมืองพม่าเมื่อทรงได้ทอดพระเนตรชมลีลาแม่ไม้มวยไทยที่สามารถเอาชนะนักมวยพม่า ในงานมหกรรมฉลองพิธียกฉัตรใหญ่พระเจดีย์ชเวดากองขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ที่เมืองย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317


มวยไทย ศิลปะและเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณมวยไทยฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร ที่ต้องรบพุ่งกับข้าศึกแบบประชิดตัวโดยอาวุธในสมัยนั้น คือ กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการต่อสู้แบบประชิดตัว จึงได้ฝึกหัดใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วยเเวลาต่อสู้ และพัฒนาต่อกลายเป็นศิลปะการต่อสู้แบบมือเปล่าในที่สุด

ดังนั้นการฝึกมวยไทยในสมัยนั้นจึงมีจุดมุ่งหมาย 2 อย่าง คือ
1. เพื่อสู้รบกับข้าศึก
2. เพื่อต่อสู้ป้องกันตัว

การชกมวยไทยในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้กันที่น่าตื่นเต้นมากกว่าสมัยนี้ นักมวยสมัยเก่าจะใช้ด้ายดิบเส้นโตขนาดดินสอดำชุบแป้งให้แข็ง พันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือ (สันหมัด) เป็นรูปก้นหอยที่เรียกว่า “คาดเชือก”


วิชามวย ได้แตกแขนง แบ่งกลุ่ม แบ่งภาค ทั้งท่ารำร่ายไหว้ครู รูปแบบลีลาท่าย่าง ท่าครู แม่ไม้ ลูกไม้ อีกทั้งความชำนาญเรื่อง การจัก สาน ร้อย ทำให้การคาดเชือก ถักหมัด มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกมากมาย โดยหลักใหญ่แบ่งได้ตามภูมิภาค คือ

1. ภาคเหนือ มวยท่าเสา มวยเม็งราย มวยเจิง ฯลฯ มวยท่าเสา เป็นมวยเชิงเตะ คล่องแคล่ว ว่องไว ทั้งซ้ายขวา จนได้ฉายา มวยตีนลิง คาดเชือกประมาณครึ่งแขน

2. ภาคอีสาน มวยโคราช มวยหลุม ฯลฯ มวยโคราช ลักษณะการ เตะ ต่อย เป็นวงกว้าง นิยม คาดเชือก ขมวดรอบแขนจนจรดข้อศอก เพื่อใช้รับการเตะ ที่หนักหน่วงรุนแรง

3. ภาคกลาง มวยลพบุรี มวยพระนคร ฯลฯ มวยลพบุรี ลักษณะการชก ต่อย วงใน เข้าออกรวดเร็ว เน้นหมัดตรง การคาดเชือก จึงคาดเพียงประมาณครึ่งแขน

4. ภาคใต้ มวยไชยา ฯลฯ มวยไชยา ลักษณะการรุก-รับ รัดกุม ถนัดการใช้ศอกในระยะประชิดตัว การคาดเชือกจึงนิยมคาดเพียง คลุมรอบข้อมือ เพื่อกันการซ้น หรือเคล็ด เท่านั้น




ผู้ที่ฝึกวิชามวยพอใช้การได้แล้ว ย่อมทำให้เกิดประโยชน์แก่ตน ดังนี้ (คนละส่วนกับการฝึกชกมวยเพื่อเงิน)
๑. มีความมั่นใจในตนเอง
๒. ทำให้เกิดความกล้าหาญ
๓. มีอำนาจบังคับจิตใจดีขึ้น
๔. มีความสุขุมเยือกเย็น ไม่ดีใจเสียใจง่าย
๕. มีความพินิจพิเคราะห์ รู้จักหาเหตุผล
๖. มีความมานะอดทน เพื่อสร้างสมรรถภาพ
๗. มีเชาว์ไว ไหวพริบ ทันเหตุการณ์ปัจจุบันทันด่วน
๘. มีความเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อแท้ และจำนนต่อเหตุการณ์ง่าย ๆ
๙. มีความรักสุจริตยุติธรรม โดยประมวลจากหัวข้อข้างต้น

ในปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิง นักมวยที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงมาก่อนไปอาศัยในต่างประเทศ ได้เปิดสอนมวย ไทยในประเทศที่ตนเองไปอาศัยอยู่นั้น ซึ่งได้รับการสนใจเป็นอันมาก เพราะมวยไทยมีวิธีชกแปลก ที่สุดในโลก มีศิลปะการต่อสู้ของชาติต่าง ๆ ได้ขอเข้ามาต่อสู้กับมวยไทย เช่น ยูโด คาราเต้ เทควันโด มวยสากล มวยปล้ำ มวย Kick Boxing, Martrialart ฯลฯ ซึ่งการต่อสู้แต่ละครั้งมวยไทยจะเป็น ฝ่ายได้รับชัยชนะ ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่าการต่อสู้แบบมวยไทย เป็นวิธีการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบด้าน จึงพากันสนใจเรียนมวยไทยกันมาก


ในกองทัพไทยเองได้มีการดัดแปลงมวยไทยมาเป็นการต่อสู้แบบใหม่โดยเรียกว่า "เลิศฤทธิ์" เพื่อรักษาไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติอันเป็นศิลปะในการต่อสู้และความภาคภูมิใจของคนไทย