วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

จาก ไข่เหี้ย สู่ ขนมไข่หงษ์

ขนมไข่หงษ์ ของว่างที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านแผงลอยข้างถนนทั่วไป ส่วนประกอบทำจากแป้งและถั่ว มีรสชาติอร่อยและราคาไม่แพง เป็นขนมที่หารับประทานได้ง่าย แต่จะมีใครรู้บ้างว่า ขนมนี้ชื่อเดิม คือ ขนมไข่เหี้ย และถูกคิดค้นขึ้นเพื่อถวายพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของประเทศไทย

กำเนิดของขนมไข่เหี้ยนั้น ปรากฏเป็นตำนานว่า

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นั้นโปรดเสวยไข่เหี้ย กับมังคุด เป็นอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งก็โปรดจะเสวย แต่ไม่มีใครสามารถหามาถวายได้ เพราะไม่ใช่ฤดูผสมพันธ์เหี้ย เจ้าจอมแว่นซึ่งมีฝีมือทางด้านการปรุงอาหาร จึงคิดประดิษฐ์ "ขนมไข่เหี้ย" ขึ้นถวายแทน

ไข่เหี้ยกินได้ด้วยหรือ

ในสมัยโบราณนานนมตอนที่ความเจริญยังไม่มาก การกินของพื้นบ้านที่หามาได้ง่าย ๆ ทั่วไปเป็นเรื่องปกติ เจ้าตัวเหี้ยที่ถึงเวลาขยายเผ่าพันธ์ก็คงจะไปไข่ไว้ตามธรรมชาติ เมื่อพวกขี้เหล้า ในสมัยก่อนไปเจอเข้าก็คงจะลองนำมากินแกล้มเหล้าเหมือนกับที่ กินงู กินเต่า

ไข่ตัวเงินตัวทอง ของจริงจะมีรูปร่าง รียาว สีขาวขุ่น มีในฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝนไข่คราวละ 15-20 ฟอง ใช้เวลาฟัก 45-50 วัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก แต่ละปีจะมีไข่ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน

โดยวิธีปรุงคือการนำไข่ของเจ้าตัวเงินตัวทองไปย่างไฟอ่อน ๆ ก่อนย่างก็จะใช้เข็มหรือของ แหลม ๆ เจาะไข่ให้เป็นรูเล็ก ๆ จนทั่ว ไข่ตัวเงินตัวทอง นั้นเปลือกไม่แข็งเหมือนไข่เป็ดหรือไข่ไก่แต่จะอ่อนนุ่มนิ่มคล้ายกับ ไข่เต่า ระหว่างที่ย่างอยู่นั้นก็จะพรมน้ำเกลือลงบน ไข่ไปเรื่อย ๆ จนไข่สุก

ส่วนรสชาตินั้นว่ากันว่าจะออกมัน ๆ เค็ม ๆ ไข่แดงมีรสมัน เคี้ยวร่วน กลิ่นหอมและรสอร่อยกว่าไข่เค็ม
นิยมกินกับมังคุดเพราะรสจะอร่อยเป็นพิเศษ

คาดว่าการกินไข่เหี้ยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโน้นแนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น