วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาร์ค ทเวน นักเขียนผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ชีวิต


เอาคำคมของนักเขียนคนสำคัญของอเมริกัน เจ้าของนามปากกา มาร์ค ทเวน มาฝากเพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
แซมมวล แลงฮอร์น คลีเมนซ์ (Samuel Langhorne Clemens พ.ศ. 2378-2453) นักเขียน และนักเขียนเรื่องขบขันชาวอเมริกันเจ้าของนามปากกา มาร์ค ทเวน (Mark Twain) เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายนพ.ศ. 2378 ในเมืองฟลอริด้า รัฐมิสซูรี่ เป็นบุตรคนที่หกจากเจ็ดคนในครอบครัว เมื่ออายุได้ 4 ขวบครอบครัวได้ย้ายไปยังเมืองฮันนิบาล รัฐมิสซูรี่ ซึ่งต่อมาได้เป็นฉากสำคัญในนิยายของเขา โดยเฉพาะประเด็นการค้าทาส
ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ มาร์ก ทเวน ได้ทิ้งไว้ให้กับ วรรณกรรมอเมริกัน ก็คือฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ ผจญภัย
นิยายเรื่องอื่นที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ "ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย", "The Prince and the Pauper", "A Connecticut Yankee in King Arthur's Court" และงานเขียนสารคดี "Life on the Mississippi"
ทเวน เริ่มต้นด้วยการเป็นนักเขียนบทกลอนขำขัน แต่สุดท้าย เขาเป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ที่น่ากลัว เกือบจะเรียกได้ว่าแหกคอกเลยก็ว่าได้ จากที่ได้ประสบกับ ความยโสโอหัง ความเจ้าเลห์เพทุบาย และการเข่นฆ่ากันของเหล่ามนุษยชาติ ในช่วงตอนกลางของอาชีพ เขาได้ผสมผสาน ความขบขัน การดำเนินเรื่องที่แข็งขัน และการวิจารณ์สังคม เอาไว้อย่างไม่มีใครเปรียบ ในงานเขียนของเขา ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ พจญภัย
ทเวน เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ภาษาชาวบ้าน เขาเป็นผู้ที่ช่วยสร้างวรรณกรรมอเมริกัน ที่มีลักษณะเฉพาะตัว จากภาพลักษณ์ และภาษาของชาวอเมริกัน และได้ทำให้มันเป็นที่นิยมขึ้นมา
ทเวน นั้นมีความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ เขาเป็นเพื่อนที่คบหามานานกับนิโคลา เทสลา ทั้งคู่มักจะใช้เวลาร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ (เช่น ใน ห้องทดลองของเทสลา) เรื่อง A Connecticut Yankee in King Arthur's Court นั้น ก็ได้ใช้การเดินทางผ่านกาลเวลา ซึ่งเดินทางจากช่วงเวลาของเขา กลับไปในยุคของกษัตริย์อาเธอร์ และได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้สร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับยุคนั้น


คำคมของมาร์ค ทเวน

“ให้เราใช้ชีวิตในแบบที่เมื่อเราตายสัปเหร่อยังเสียใจ”

เรารู้จักมาร์ค ทเวนจากหนังสือชื่อดังหลายเล่ม เป็นต้นว่า Adventures of Huckleberry Finn และ The Adventures of Tom Sawyer มาร์ค ทเวนเป็นนักเขียนที่มีทั้งอารมณ์ขันและฝีปากจัดจ้าน มีผู้นิยมหยิบยกสำนวนของเขามาเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตมากมาย ต่อไปนี้เป็นข้อคิด 9 ข้อจากมาร์ค ทเวน

1. “คนเราจะอยู่อย่างสบายใจไม่ได้ ถ้าเราไม่ยอมให้ตัวเองสบายใจ”
เห็นดีเห็นงามในสิ่งที่ตัวเองทำ ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาเห็นดีเห็นงามด้วย ทำลายกำแพงภายในจิตใจคุณเองแล้วลงมือทำ

2. “อายุอยู่ที่ใจถ้าคุณไม่สน มันก็ไม่สำคัญ”
ข้อจำกัดหลายประการในการดำเนินชีวิตอยู่ที่จิตใจเราคิดไปเอง ให้ความสำคัญกับความคิดของผู้อื่นมากกว่าความต้องการของตัวเอง ถ้าคุณไม่สน คนอื่นก็ดูเหมือนจะไม่สนไปด้วย และเมื่อคุณไม่สนก็จะไม่มีอุปสรรคในการลงมือทำสิ่งที่คุณอยากทำ

3.“อารมณ์ขันเป็นพรอันประเสริฐสุดของมนุษยชาติ”
ร่าเริงเข้าไว้และสนุกกับชีวิต อารมณ์ขันและเสียงหัวเราะเป็นเครื่องมือที่น่าประหลาด มันสามารถพลิกสถานการณ์ที่เคร่งเครียดให้กลายเป็นเรื่องขบขันได้  เมื่อจิตใจปราศจากอารมณ์ด้านลบ การแก้ปัญหาหรือดำเนินงานใดๆย่อมง่ายขึ้น

4. “ความโกรธเป็นเหมือนน้ำกรดมันทำร้ายภาชนะบรรจุมากกว่าสิ่งที่มันหลั่งรด”
ความโกรธทำให้เราควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ความโกรธมักจะทำร้ายตัวเรามากกว่าคนที่เราโกรธ  เพราะมีแต่เราเท่านั้นที่รู้สึกถึงความโกรธ ผู้ที่เราโกรธอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ จงเดินตรงเข้าไปพูดคุยกับเขาและแก้ปัญหาเสีย มิฉะนั้นก็จงปล่อยวางความโกรธ

5.“อย่ามัวแต่พูดว่าโลกเป็นหนี้คุณ โลกไม่ได้ติดค้างอะไรคุณเลย”
คุณอาจกำลังคิดว่าเพราะคุณเป็นคนดี คุณจึงควรได้รับผลตอบแทนที่ดี เมื่อไม่ได้คุณก็หงุดหงิด เพราะโลกจะไม่ให้สิ่งที่คุณคาดหวัง โลกไม่ได้เป็นหนี้คุณ คุณอยากได้อะไรต้องแสวงหาเอาเอง

6.“คนที่มีความคิดใหม่ๆ จะเป็นตัวประหลาดไปจนกว่าความคิดนั้นจะประสบความสำเร็จ”
ถ้าคุณริเริ่มเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างหรือทำอะไรที่ผิดจากผู้คนปกติเขาทำกัน ผู้อื่นอาจมีความคิดเห็นต่อคุณแตกต่างกันไป บางคนอาจชื่นชอบ บางคนอาจทำให้คุณหมดกำลังใจ  ความรู้สึกของคนพวกนี้ไม่เกี่ยวกับคุณ มันขึ้นกับว่าพวกเขามองตัวเองอย่างไรจึงถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดและตัดสินคุณ ...อย่าหมดกำลังใจเดินหน้าต่อไป

7. “ดึงความคิดของคุณให้ออกจากปัญหา”
จิตใจของคุณมุ่งอยู่ที่ไหน จะเป็นตัวบอกเองว่าเหตุการณ์จะออกหัวหรือก้อย ถ้าคุณมุ่งคิดถึงแต่ปัญหา คุณก็จมอยู่กับความทุกข์ ความจริงแล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะคิดวนเวียนอยู่ในปัญหาของตัวเอง แต่คุณสามารถคิดถึงด้านบวกของสถานการณ์เดียวกันนั้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน แล้วคุณจะควบคุมจุดโฟกัสความคิดของคุณได้ดียิ่งขึ้น

8.“วิธีที่ดีที่สุดในการให้กำลังใจตัวเองคือ พยายามให้กำลังใจผู้อื่น”
อาจฟังดูขัดแย้งเล็กน้อย แต่วิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดีก็คือช่วยผู้อื่นให้รู้เขารู้สึกดี มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะให้และรับซึ่งกันและกันอยู่แล้ว เมื่อคุณให้ผู้อื่น ผู้อื่นก็จะรู้สึกอยากให้คุณบ้างเป็นการตอบแทน เมื่อเพื่อนช่วยคุณ ก็เป็นแรงบันดาลใจให้คุณช่วยผู้อื่นต่อไป

9. ยี่สิบปีนับจากนี้ คุณจะผิดหวังกับสิ่งที่ไม่ได้ทำมากกว่าสิ่งที่ทำลงไปแล้ว เพราะฉะนั้นจงปลดเชือกรั้งใบ แล่นเรือออกจากท่า กางใบเรือรับลมตะวันออก สำรวจ ฝัน ค้นหา.”
ทำในสิ่งที่คุณอยากทำ


อ้างอิง  : บทความของ  Henrik Edberg

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การแบ่งค่าน้ำหนักสำหรับการจัดทำ KPI

        การจัดทำ KPI ขึ้นมาใช้ในองค์กร ควรมีหลักเกณฑ์การกำหนดน้ำหนักคะแนนที่มีประสิทธิภาพแล้ว วามเป็นธรรมในระบบการประเมิน ที่ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินยอมรับร่วมกันได้ ระหว่างตำแหน่งงาน คราวนี้จะขอมาอธิบายถึงวิธีการแบ่งค่าน้ำหนักการให้คะแนนสำหรับการทำ KPI


        การกำหนดน้ำหนักคะแนนของ KPI มี 2 เรื่องที่สำคัญ คือ กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือก KPI และการให้น้ำหนักคะแนน ซึ่งควรจะให้ทุกหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตกลงกติกาในการกำหนดน้ำหนักคะแนนร่วมกัน


การแบ่งค่าน้ำหนักนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มด้วยกัน คือ


1. การกำหนดสัดส่วนความสำคัญระหว่างตัวชี้วัดกลยุทธกับตัวชี้วัดงานประจำ


        เป็นการกำหนดสัดส่วนความสำคัญในตำแหน่งต่าง ๆ กับงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น


ระดับหัวหน้าฝ่ายจะใช้สัดส่วนประมาณ 70 : 30


         เพราะระดับบริหารควรบริหารจัดการงานพัฒนา มากกว่าการทำงานประจำ ยกเว้นในบางกรณีที่ภาระงานที่รับผิดชอบหลักไม่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดตามกลยุทธขององค์กร แต่ไม่ควรน้อยกว่า 60 : 40


        ผู้ปฏิบัติงานสัดสวนไม่ควรน้อยกว่า 60 : 40 ยกเว้นในบางกรณี ที่ภาระงานที่รับผิดชอบหลักส่วนใหญ่อยู่ในงานพัฒนา สามารถกำหนดสัดส่วนตัวชี้วัดทางด้านกลยุทธมากกว่างานประจำได้


        ยกเว้นในบางกรณีเฉพาะตำแหน่งที่ภาระงานที่รับผิดชอบหลักไม่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดตามกลยุทธ์ เช่น พนักงานสถานที่ พนักงานขับรถยนต์


2. ในการกำหนดค่าน้ำหนักการให้คะแนน


        1. การให้ค่าน้ำหนักควรกำหนดให้เฉพาะผู้ที่รับผิดชอบตัวชี้วัดเท่านั้น


        2. กำหนดค่าน้ำหนักมาก - น้อย ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบ เช่น ผู้รับผิดชอบหลัก ต้องได้ค่าน้ำหนักมากกว่าผู้สนับสนุน


        3. น้ำหนักคะแนนของ KPI ควรเริ่มจากหมายเลข 1 ก่อนและไล่ไปจนถึงหมายเลขสุดท้าย หมายเลขน้อยควรจะมีน้อยมากกว่าหรือเท่ากับหมายเลขมาก เช่น น้ำหนักของ KPI ที่เป็นหมายเลข 1 ควรจะมีน้ำหนักคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับหมายเลข 2 และ KPI หมายเลข 2 ควรจะมีน้ำหนักคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ KPI หมายเลข 3 ห้ามมิให้ KPI ที่มีลำดับความสำคัญน้อยกว่ามีคะแนนมากกว่า KPI ที่อยู่ในลำดับต้นๆ (สำคัญมากกว่า)


        และสุดท้ายเมื่อทุกคนกำหนดน้ำหนักคะแนนมาเรียบร้อย ควรจะนำเข้ามานำเสนอในที่ประชุมอีกรอบ เพื่อป้องกันการแก้ไขในภายหลังหรือช่วยกันเสนอแนะเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การกำหนดความยากง่ายของ KPI

การกำหนดเกณฑ์การพิจารณากำหนดระดับความยากง่ายของงาน เพื่อกำหนดระดับคะแนนและประเมินผลที่เหมาะสมแต่ละตัวชี้วัด เพื่อทำให้การชี้วัดผลเป็นไปอย่างเหมาะสม มีขั้นตอนรดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การคิดวิเคราะห์เจาะลึกว่าตัวชี้วัดนั้น ๆ จะเป็นแบบไหน จะมีหลักการคัดแยก 3 หลักด้วยกัน

หลักการแรก จำแนกตัวชี้วัดก่อนว่าจะเป็นผลผลิตหรือว่าผลลัพธ์ ภาระงานที่ท่านปฏิบัตินั้น มีลักษณะตัวชี้วัดเป็นแบบไหนเป็นผลผลิตหรือว่าผลลัพธ์



หลักการที่สอง การจำแนกความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย แบ่งเป็นการ

1. ดำเนินการฝ่ายเดียว หรือ

2. ดำเนินการร่วมกันระหว่างฝ่ายภายใน องค์กร อาศัยความร่วมมือจากภายนอก


หลักการที่สาม หลักการท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย แบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ  

1. เป้าหมายต่ำกว่าผลงานเดิม เคยดำเนินการแล้ว มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายให้ต่ำกว่าเดิม

2 เป้าหมายเท่ากับผลงานเดิมหรือยังไม่เคยกำหนดเป้าหมาย

3. เป้าหมายสูงกว่าผลงานเดิม เคยดำเนินการแล้วเคยดำเนินการแล้วแล้วมีการปรับปรุงเป้าหมายให้สูงกว่าผลงานเดิม

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันจึงได้ทำเป็นตาราง เพื่อกำหนดความยากง่ายของตัวชี้วัด

001.png


ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้ระดับตัวชี้วัดแล้วจะทราบค่าระดับความยาก-ง่าย โดยการนำการพิจารณาความยากง่าย 3 ค่า มารวมกันจะเกิดเป็นคะแนนความยากงานของตัวชี้วัดนั้น

จากระดับความยาก-ง่ายที่ได้มาสู่เกณฑ์การประเมินผล คือ

1. ค่าคะแนนระหว่าง 2-4 คะแนน จะอยู่ในระดับง่าย เกณฑ์การประเมินผลงานที่ 91 -100 % ของเป้าหมายจะอยู่ที่ระดับ 3 คะแนน

2. ค่าคะแนนอยู่ที่ระหว่าง 5-7 คะแนน จะอยู่ในระดับปานกลาง เกณฑ์การประเมินผลงานอยู่ที่ 91-100 % ของเป้าหมายอยู่ที่ระดับ 4 คะแนน

3. คะแนนอยู่ที่ระหว่าง 8-10 คะแนน จะอยู่ในระดับยาก เกณฑ์การประเมินผลงานอยู่ที่ 91-100 % ของเป้าหมายอยู่ที่ระดับ 5 คะแนน

เมื่อนำมาทำเป็นตารางจะได้รูปแบบดังตารางที่ 2
รูปภาพ1.jpg

ตัวอย่าง

1. กรณีระดับง่าย 2 - 4 คะแนน โครงการบริการสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ คือ ร้อยละความสำเร็จของโครงการคะแนนระดับความยากง่ายที่ 4 คะแนน มาจาก


        - ประเภทตัวชี้วัด เป็นแบบ ผลผลิต (เชิงปริมาณ) เวลา ระดับความยากง่ายเท่ากับ 1

        - ความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย คือ ดำเนินการร่วมกันระหว่างฝ่ายภายในของสำนักทะเบียนระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 2

        - ระดับความท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย คือ เป้าหมายเท่ากับผลงานเดิมหรือยังไม่เคยกำหนดเป้าหมาย ระดับความง่ายจะเท่ากับ 1

เมื่อนำทั้งสามค่ามารวมกัน คือ 1+2+1 คะแนนความยากง่ายจะเท่ากับ 4 คะแนน

2. กรณีระดับปานกลาง 6 คะแนน โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ คือร้อยละความสำเร็จของโครงการ คะแนนความยากง่ายที่ 6 คะแนน มาจาก

        - ประเภทตัวชี้วัด เป็นแบบ ผลผลิต (เชิงปริมาณ) เวลา ระดับความยากง่ายเท่ากับ 1

        - ความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย คือ อาศัยความรวมมือจากภายนอก ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 4

        - ระดับความท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย คือ เป้าหมายเท่ากับผลงานเดิม หรือยังไม่เคยกำหนดเป้าหมาย ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 1

เมื่อนำทั้งสามค่ามารวมกัน คือ 1+4+1 คะแนนความยากง่ายจะเท่ากับ 6 คะแนน


3. กรณีระดับยาก 8-10 โครงการศึกษาดูงานหน่วยงานที่ให้บริการดีเด่นทั้งภายในหรือต่างประเทศ เป็นผลการศึกษาเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นตามกลยุทธ์ Modern และ Smart คะแนนความยากง่ายที่ 10 คะแนน มาจาก

        - ประเภทตัวชี้วัด เป็นแบบ ผลลัพธ์ (เชิงคุณภาพ) เนื่องจากเป็นการคิดวิเคราะห์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบข้อแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานกัน ระดับความยากง่ายเท่ากับ 4

        - ความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย คือ อาศัยความรวมมือจากภายนอก ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 4

        - ระดับความท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย คือ เป้าหมายสูงกว่าผลงานเดิม ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 2 เมื่อนำทั้งสามค่ามารวมกัน คือ 4+4+2 คะแนนความยากง่ายจะเท่ากับ 10 คะแนน

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

50 อันดับมหาเศรษฐีของประเทศไทยปี 2557

นี้คือรายชื่อ 50 อันดับมหาเศรษฐี ของประเทศไทยมี จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ไทยแลนด์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557  

อันดับ 1 ได้แก่ ตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของธุรกิจใหญ่ในประเทศไทย อาทิ โรงแรมหลายแห่ง และศูนย์การค้าชื่อดังเซ็นทรัลหลายสาขา ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 413,956.50 ล้านบาท
อันดับที่ 2 ได้แก่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของธุรกิจเครือซีพี ซึ่งร่วงจากอันดับ 1 เมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าทรัพย์สิน 374,842.50 ล้านบาท
อันดับที่ 3 ได้แก่ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ซึ่งอันดับคงที่ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 368,323.50 ล้านบาท
อันดับที่ 4 ได้แก่ นายเฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของธุรกิจกระทิงแดง มีมูลค่าทรัพย์สิน 322,690.50 ล้านบาท
อันดับที่ 5 ได้แก่ นายกฤตย์ รัตนรักษ์ กรรมการของช่อง 7 สี มีมูลค่าทรัพย์สิน 166,234.50 ล้านบาท
อันดับที่ 6 ได้แก่ นายวาณิช ไชยวรรณ บมจ.ไทยประกันชีวิต มีมูลค่าทรัพย์สิน 127,120.50 ล้านบาท
อันดับที่ 7 ได้แก่ นายสันติ ภิรมย์ภักดี และครอบครัว กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด มีมูลค่าทรัพย์สิน 91,226 ล้านบาท
อันดับที่ 8 ได้แก่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ธุรกิจโรงพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ (BGH) มีมูลค่าทรัพย์สิน 74,968.50 ล้านบาท
อันดับที่ 9 ได้แก่ นายวิชัย มาลีนนท์ และครอบครัว ประธานกรรมการและผู้ร่วมก่อตั้ง BEC World มีมูลค่าทรัพย์สิน 55,411.50 ล้านบาท
อันดับที่ 10 ได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีมูลค่าทรัพย์สิน 53,781.75 ล้านบาท
อันดับที่ 11 ได้แก่ นายวิชัย ศรีวัฒนประภา เจ้าของกลุ่มกิจการคิง เพาเวอร์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 52,152 ล้านบาท
อันดับที่ 12 ได้แก่ นายชาตรี โสภณพนิช ประธานแบงก์กรุงเทพ มีมูลค่าทรัพย์สิน 52,152 ล้านบาท
อันดับที่ 13 ได้แก่ นายฤทธิ์ ธีระโกเมน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด และครอบครัว มีมูลค่าทรัพย์สิน 48,892.50 ล้านบาท
อันดับที่ 14 ได้แก่ นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ เจ้าของพฤกษา เรียลเอสเตท มีมูลค่าทรัพย์สิน 45,633 ล้านบาท
อันดับที่ 15 ได้แก่ นายประยุทธ มหากิจศิริ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท พีเอ็มส์ กรุ๊ปส์ เจ้าของบริษัทไทยน็อคซ์ สเตนเลส และไทย คอปเปอร์ และครอบครัว มีมูลค่าทรัพย์สิน 45,633 ล้านบาท
อันดับที่ 16 ได้แก่ นายคีรี กาญจนพาสน์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 45,633 ล้านบาท
อันดับที่ 17 ได้แก่ นายบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตเจ้าของธุรกิจสื่อสาร และครอบครัว มีมูลค่าทรัพย์สิน 42,373.50 ล้านบาท
อันดับที่ 18 ได้แก่ นายอาลก โลเฮีย (Mr. Aloke Lohia) รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กลุ่มบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส มีมูลค่าทรัพย์สิน 39,114 ล้านบาท
อันดับที่ 19 ได้แก่ นายวิชัย ทองแตง เป็นนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีชื่อเสียง มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 20 ได้แก่ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มน้ำตาลมิตรผล และครอบครัว มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 21 ได้แก่ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 22 ได้แก่ พรเทพ พรประภา กลุ่มสยามกลการ มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 23 ได้แก่ นายวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค นักธุรกิจสัญชาติไทยเชื้อสายอเมริกัน ผู้ก่อตั้งเครือบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 24 ได้แก่ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ประธานกรรมการ บริษัท วัชรพล จำกัด, ประธานกรรมการ มูลนิธิไทยรัฐ และครอบครัว มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 25 ได้แก่ นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการประกวด มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์, กรรมการผู้จัดการบริษัท จันทร์ 25 จำกัด และอดีตกรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 26 ได้แก่ นายอนันต์ อัศวโภคิน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 35,854.50 ล้านบาท
อันดับที่ 27 ได้แก่ นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม KTIS ผู้นำธุรกิจน้ำตาลทราย มีมูลค่าทรัพย์สิน 30,639.30 ล้านบาท
อันดับที่ 28 ได้แก่ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท ออโต พาร์ท อินดัสตรี และครอบครัว มีมูลค่าทรัพย์สิน 29,335.5 ล้านบาท
อันดับที่ 29 ได้แก่ นายสรรเสริญ จุฬางกูร ผู้ถือหุ้นบริษัทไทยซัมมิท และบริษัทไทยสตีลเคเบิล มีมูลค่าทรัพย์สิน 28,683.6 ล้านบาท
อันดับที่ 30 ได้แก่ Nishita Shah Federbush บมจ.พรีเชียส ชิปปิ้ง มีมูลค่าทรัพย์สิน 28,520.625 ล้านบาท
อันดับที่ 31 ได้แก่ นายนพพร ศุภพิพัฒน์ ประธานบริหาร บ.วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิงส์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 26,076 ล้านบาท
อันดับที่ 32 ได้แก่ นายศิริพงษ์ รุ่งโรจน์กิตติยศ กลุ่มพี.ซี.เอสแมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง มีมูลค่าทรัพย์สิน 22,490.55 ล้านบาท
อันดับที่ 33 ได้แก่ นายพิชญ์ โพธารามิก บมจ.จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล มีมูลค่าทรัพย์สิน 22,164.60 ล้านบาท
อันดับที่ 34 ได้แก่ นายตัน ภาสกรนที บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด มีมูลค่าทรัพย์สิน 20,860.80 ล้านบาท
อันดับที่ 35 ได้แก่ นายนิติ โอสถานุเคราะห์ กลุ่มบริษัทโอสถสภา มีมูลค่าทรัพย์สิน 20,534.85 ล้านบาท
อันดับที่ 36 ได้แก่ นายเพชร และนายรัตน์ โอสถานุเคราะห์ กลุ่มบริษัทโอสถสภา มีมูลค่าทรัพย์สิน 20,208.90 ล้านบาท
อันดับที่ 37 ได้แก่ นายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น มีมูลค่าทรัพย์สิน 19,557 ล้านบาท
อันดับที่ 38 ได้แก่ นายวิฑูร สุริยวนากุล บริษัทสยาม โกลบอล เฮ้าส์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 19,394.025 ล้านบาท
อันดับที่ 39 ได้แก่ นายสมโภชน์ อาหุนัย บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 19,068.075 ล้านบาท
อันดับที่ 40 ได้แก่ นายไกรสร จันศิริ และครอบครัว บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 18,905.10 ล้านบาท
อันดับที่ 41 ได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ วิทยากร บริษัทพรินซิเพิล แคปิตอล มีมูลค่าทรัพย์สิน 16,949.40 ล้านบาท
อันดับที่ 42 ได้แก่ นายสมยศ และนางจรีพร อนันตประยูร บริษัทดับบลิวเอชเอคอร์ปอเรชั่น จำกัด มีมูลค่าทรัพย์สิน 16,786.425 ล้านบาท
อันดับที่ 43 ได้แก่ นางจรรย์สมร วัธนเวคิน และครอบครัว ธนาคารเกียรตินาคิน มีมูลค่าทรัพย์สิน 16,297.50 ล้านบาท
อันดับที่ 44 ได้แก่ นายประเดช กิตติอิสรานนท์ บมจ.เด็มโก้ มีมูลค่าทรัพย์สิน 15,808.575 ล้านบาท
อันนดับที่ 45 ได้แก่ นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ บมจ.ช.การช่าง มีมูลค่าทรัพย์สิน 13,526.925 ล้านบาท
อันดับที่ 46 ได้แก่ นายวิชา พูลวรลักษณ์ เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์ มีมูลค่าทรัพย์สิน 13,200.975 ล้านบาท
อันดับที่ 47 ได้แก่ นายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัล มีมูลค่าทรัพย์สิน 11,571.225 ล้านบาท
อันดับที่ 48 ได้แก่ นางวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการบริษัทเอสพีซีจี มีมูลค่าทรัพย์สิน 11,245.275 ล้านบาท
อันดับที่ 49 ได้แก่ นายเฉลิม หาญพานิช บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล มีมูลค่าทรัพย์สิน 10,104.45 ล้านบาท
อันดับที่ 50 ได้แก่ นายประทีป ตั้งมติธรรม บมจ.ศุภาลัย มีมูลค่าทรัพย์สิน 9,941.475 ล้านบาท

นวนิยายที่ได้ชื่อว่า สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน

สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน เป็นนวนิยายของจีน 4 เรื่อง ไซอิ๋ว สามก๊ก ความฝันในหอแดง และซ้องกั๋ง หรือ วีรบุรุษเขาเหลียงซัน ได้รับการยกย่องจากเหล่าบัณฑิตทุกยุคสมัยให้เป็นสี่สุดยอดวรรณกรรมของจีน

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ของจีน ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 14 สมัยราชวงศ์หยวน โดยนักเขียนชื่อ หลอกว้านจง จากการนำเค้าโครงเรื่องในจดหมายเหตุสามก๊ก ซึ่งเป็นงานเขียนเชิงพงศาวดารของเฉินโซ่ว อดีตขุนนางของจ๊กก๊กมาประพันธ์เพิ่ม เนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวการสงคราม กลศึก และการช่วงชิงความเป็นใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นที่จีนแตกเป็นสามก๊กสามขั้วอำนาจ ได้แก่ ก๊กเว่ย (วุยก๊ก) ก๊กสู่ (จ๊กก๊ก) และก๊กอู๋ (ง่อก๊ก)

ความสุดยอดของนวนิยายเรื่องนี้ถึงกับถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา ถึงกับมีคำกล่าวว่า “ใครไม่ได้อ่านสามก๊กอย่าริคิดการใหญ่”  ถึงสุดท้าย “แท้จริงเรื่องราวในโลกล้วนเหลวไหล…”

ความฝันในหอแดง แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1784) โดยเฉาเสี่ยว์ฉิน แต่ยังแต่งไม่จบก็เสียชีวิตลงซะก่อน ภายหลังมีนักเขียนมากมายแต่งต่อ แต่ฉบับที่เป็นที่ยอมรับก็คือของเกาเอ้อ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวความรักชายหญิง ความลุ่มหลงในโลกียะของมนุษย์ และความเสื่อมของระบบศักดินาของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสะท้อนผ่านครอบครัวสกุลเจี่ยที่มั่งคั่

เด็กสาวไม่ควรอ่าน "ความฝันในหอแดง" เพราะบทพรรณนาการร่วมเพศอย่างถึงพริกถึงขิงในนิยาย ทำให้เด็กสาวอยากรู้อยากลอง ว่ากันว่ามีเด็กสาวๆ สมัยนั้นหลายคนที่กลายเป็นคนหมกมุ่นเรื่องเพศ และต้องเสียตัวหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้

ไซอิ๋ว เป็นผลงานการประพันธ์ของอู๋เฉิงเอินในสมัยราชวงศ์หมิง ว่าด้วยเรื่องราวของซุนหงอคง ตือโป๊ยก่าย และซัวเจ๋ง คุ้มครองพระถังซำจั๋ง เดินทางไปอันเชิญพระไตรปิฏกยังชมพูทวีป ระหว่างทางต้องผจญอันตรายจากปีศาจมากมาย

ด้วยเนื้อหาที่เป็นการผจญภัย และมีสัตว์เป็นตัวเอก เรื่องราวสนุกสนาน ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ก็ยังเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ทำให้ไซอิ๋วได้รับความนิยมจากหมู่เยาวชนมากที่สุด
      

วีรบุรุษเขาเหลียงซัน แต่งโดยซือไน่อัน (แต่บางตำราระบุว่าภายหลังได้รับการขัดเกลาสำนวนโดยหลอกว้านจง ผู้แต่งสามก๊ก) ซ้องกั๋งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ซ่งเหนือของซ่งฮุยจง กษัตริย์ผู้อ่อนแอ กล่าวถึงเรื่องราวของผู้กล้า 108 คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง จนหนีมารวมตัวกันที่เขาเหลียงซัน สาบานเป็นพี่น้องและร่วมมือกันปราบปรามความอยุติธรรมในใต้หล้า

เรื่องของกบฏชาวนา หรือผู้กล้า 108 คนที่รวมตัวกันปกป้องบ้านเมือง มีเนื้อหาลึกซึ้งส่งผลสะเทือนต่อจิตใจ ผ่านตัวละครสำคัญที่ต่อสู้เพื่อทวงสิทธิประโยชน์ของตน โดยมีแง่คิดว่า จะยอมให้ผู้อื่นข่มเหงรังแกอย่างไม่มีเหตุผลต่อไปหรือกล้าเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่อยุติธรรมต่างๆ ทำให้เรื่องมีคุณค่าทุกยุคสมัย

วรรณกรรมดี ๆ เหล่า ถ้าใครมีเวลาแนะนำว่าควรไปหามาอ่านให้ครบทั้ง 4 เรื่อง

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผู้นำ คือ ผู้นำ

เรื่องเล่าขานเกี่ยวกับผู้นำที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร มีมากมาย วันนี้ก็ขอนำเรื่องดีดี มาฝากทุกเช่นเคย

ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภโอวาทของพระราชา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

        กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระฤๅษีนำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์ มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหาร ในสมัยนั้น พระเจ้าพรหมทัตขึ้นครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระองค์เป็นผู้รังเกียจความไม่ดี วันหนึ่งทรงดำริว่า

“เราปกครองเมืองมานี้ มีใครเดือนร้อนและกล่าวโทษของเราบ้างหรือไม่”

         จึงทรงแสวงหาอยู่ทั้งในวังและนอกวังก็ไม่พบใครกล่าวโทษพระองค์เลย จึงทรงปลอมพระองค์ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ไม่พบเห็นจึงแวะเข้าไปในป่าหิมพานต์เข้าไปสนทนากับฤๅษีด้วยทำทีเป็นคนหลงทาง

        ฤๅษีได้ทำการต้อนรับด้วยผลไม้ป่านานาชนิด พระราชาปลอมได้เสวยผลไม้ป่ามีรสหวานอร่อยดี จึงถามถึงสาเหตุที่ทำให้ผลไม้มีรสหวานอร่อยดี ฤๅษีจึงทูลว่า

“ท่านผู้มีบุญ เป็นเพราะพระราชาครองราชย์โดยธรรมเป็นแน่ ผลไม่จึงมีรสหวานอร่อยดี”

พระราชาปลอมสงสัยจึงถามอีกว่า

“ถ้าพระราชาไม่ครองราชย์โดยธรรมแล้ว ผลไม้จะมีรสชาติเป็นเช่นไร พระคุณเจ้า

“ฤๅษีตอบไปว่า “ผลไม้ก็จะมีรสขมฝาด หมดรสชาติไม่อร่อยละโยม”

         พระราชาปลอมสนทนาเสร็จแล้วก็ขอลาฤๅษีกลับเมืองไป ทรงทำการทดลองคำพูดของพระฤๅษีด้วยการไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นปีแล้วกลับไป หาฤๅษีอีกครั้ง ฤๅษีก็ทำการต้อนรับด้วยผลไม้เช่นเดิม พอผลไม้เข้าปากเท่านั้นก็ต้องถ่มทิ้งไป เพราะผลไม้มีรสขมฝาด

ฤๅษีจึงแสดงธรรมว่า

“โยม..คงเป็นเพราะพระราชาไม่ครองราชย์โดยธรรมเป็นแน่แท้ ธรรมดาฝูงโคว่ายข้ามแม่น้ำ จ่าฝูงว่ายคดฝูงโคก็ว่ายคดตามกันไป เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำมนุษย์ประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนก็ประพฤติไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์ก็เป็นทุกข์ทั่วกัน

ถ้าจ่าฝูงโคง่ายน้ำตรง ฝูงโคก็ว่ายตรงเช่นกัน เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำประพฤติเป็นธรรม ประชาชนก็ต้องประพฤติเป็นธรรมเช่นกัน พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์ก็อยู่ร่มเย็นเช่นกัน”

พระราชาสดับธรรมของพระฤๅษีเสร็จแล้ว แล้วจึงแสดงพระองค์เป็นพระราชาให้พระฤๅษีทราบ ไหว้ฤๅษีแล้วกลับคืนเมืองประพฤติตั้งตนอยู่ในทศพิธราชธรรมเช่นเดิม ทำให้สรรพสิ่งทั้งปวงกลับเป็นปกติตามเดิม
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ผู้นำที่ดีต้องเป็นตัวอย่างและที่พี่งของประชาชนได้และเป็นไปเพื่อความสงบสุขของประชาชน

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรด้วย KPI

        ในองค์กรใด ๆ ย่อมจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินอยู่มากมายในแต่ละวัน กิจกรรมปกติที่ได้ดำเนินไปเหล่านี้หากถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้ทำการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายและอาจลุกลามจนควบคุมไม่ได้


        ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้บริหารองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องทำการควบคุม โดยหาวิธีทำการวัดผลการดำเนินการของกิจกรรม  เพื่อให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินงาน เช่น อัตราการสูญเสีย อัตราการส่งมอบไม่ทันเวลา โดยเรียกสิ่งที่ใช้วัดผลงานเหล่านี้ว่า KPI


         KPI สามารถจำแนกเป็น 4 มิติ  คือ KPI ด้านการเงินบัญชี ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการตลาด ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผู้บริหารสามารถกำหนดน้ำหนักให้กับตัวชี้วัดแต่ละตัว ซึ่งเมื่อถ่วงน้ำหนักของทุกตัวชี้วัดทั้ง 4 มิติ เรียบร้อยแล้วจะได้   KPI รวมขององค์กร


        KPI รวมขององค์กร ควรรวมมุมมองอื่นๆ ที่สำคัญในการพัฒนาเข้าไปด้วย เช่น มุมมองด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาของพนักงาน เป็นต้น


        KPI รวมขององค์กร สามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดเป้าหมาย ในระดับ ต่าง ๆ โดยสามารถแยกย่อยออกเพื่อนำมาใช้ในการประเมินผลงานแต่ละระดับ ได้ดังนี้
      
  KPI รายบุคคล
        KPI ของแผนก
        KPI ของฝ่าย
        KPI เฉพาะด้าน

       ดังนั้นองค์กรควรจะต้องกำหนดการจัดทำนิยามและวิธีการคำนวณ ตลอดจนความหมายของ KPI แต่ละตัว และสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติ

        ในส่วนการกำหนดเป้าหมายของ KPI นั้น ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลาง ควรร่วมกันกำหนด โดยจะต้องพิจารณาจากค่ามาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ผลการดำเนินการขององค์กรอื่น หรือผลการดำเนินการในอดีตมาเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณากำหนด  

 จากนั้นผู้บริหารก็นำเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้นไปใช้ในควบคุมการทำงาน ให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จ



KPI ที่ดีนั้นควรมีลักษณะดังนี้
        - KPI ต้องสามารถช่วยให้ผู้บริหารติดตามการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินการต่างๆ ภายในองค์กรได้อย่างถูกต้อง


        - จำนวน KPI จะต้องมีความเหมาะสมกับความจำเป็นในการวัดผลการดำเนินการและผลการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ไม่มากจนเกินความจำเป็น การกำหนด KPI แต่ละตัวจะต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์


        -  KPI ต้องไม่สลับซับซ้อนจนยากแก่การเข้าใจ ต้องสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ไม่ยากนัก หรือเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
        - เมื่อจัดทำ KPI แล้ว ควรที่จะมีการทดสอบเพื่อดูว่า KPI นั้นสามารถสะท้อนถึงการบรรลุตามตัวชี้วัด หากไม่เหมาะสมก็ควรปรับใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสม ก่อนที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติต่อไปอีก


ข้อควรระวังในการนำ KPI ไปใช้
        - การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่า KPI เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากข้อมูลผิดพลาด ค่า KPI ที่คำนวณได้ก็ไม่ถูกต้อง หรือหากไม่จัดเก็บข้อมูลและ คำนวณอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่สามารถติดตามการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง


        - การวางระบบการจัดเก็บข้อมูล ควรกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการติดตามและคำนวณ ตลอดจนการจัดทำรายงาน KPI เพื่อให้ฝ่ายบริหารหรือหัวหน้างานทราบอย่างต่อเนื่อง โดยควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการดำเนินการในอดีต หรือเปรียบเทียบกับองค์กรภายนอก


        - เมื่อจัดทำ KPI แล้วจะต้องมีการนำมาใช้ และนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ หรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สะท้อนจากค่า KPI หากผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้อง ไม่สนใจที่จะนำผลตามค่า KPI มาใช้ประโยชน์ การจัดทำ KPI ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด มีแต่จะเสียเงินเสียเวลา


        - KPI ที่จัดทำขึ้นต้องเป็นที่เข้าใจและยอมรับของทุกฝ่ายในองค์กร ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร ควรให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและจัดทำในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ KPI ที่ถูกต้อง เหมาะสม และ เป็นที่ยอมรับของทุกคน

        KPI เป็นเรื่องที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ การจะทำให้ KPI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร และสามารถนำพาองค์กรให้ ประสบความสำเร็จนั้น เป็นเรื่องค่อนข้างยาก ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย จึงจะประสบความสำเร็จ