วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การกำหนดความยากง่ายของ KPI

การกำหนดเกณฑ์การพิจารณากำหนดระดับความยากง่ายของงาน เพื่อกำหนดระดับคะแนนและประเมินผลที่เหมาะสมแต่ละตัวชี้วัด เพื่อทำให้การชี้วัดผลเป็นไปอย่างเหมาะสม มีขั้นตอนรดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การคิดวิเคราะห์เจาะลึกว่าตัวชี้วัดนั้น ๆ จะเป็นแบบไหน จะมีหลักการคัดแยก 3 หลักด้วยกัน

หลักการแรก จำแนกตัวชี้วัดก่อนว่าจะเป็นผลผลิตหรือว่าผลลัพธ์ ภาระงานที่ท่านปฏิบัตินั้น มีลักษณะตัวชี้วัดเป็นแบบไหนเป็นผลผลิตหรือว่าผลลัพธ์



หลักการที่สอง การจำแนกความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย แบ่งเป็นการ

1. ดำเนินการฝ่ายเดียว หรือ

2. ดำเนินการร่วมกันระหว่างฝ่ายภายใน องค์กร อาศัยความร่วมมือจากภายนอก


หลักการที่สาม หลักการท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย แบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ  

1. เป้าหมายต่ำกว่าผลงานเดิม เคยดำเนินการแล้ว มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายให้ต่ำกว่าเดิม

2 เป้าหมายเท่ากับผลงานเดิมหรือยังไม่เคยกำหนดเป้าหมาย

3. เป้าหมายสูงกว่าผลงานเดิม เคยดำเนินการแล้วเคยดำเนินการแล้วแล้วมีการปรับปรุงเป้าหมายให้สูงกว่าผลงานเดิม

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันจึงได้ทำเป็นตาราง เพื่อกำหนดความยากง่ายของตัวชี้วัด

001.png


ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้ระดับตัวชี้วัดแล้วจะทราบค่าระดับความยาก-ง่าย โดยการนำการพิจารณาความยากง่าย 3 ค่า มารวมกันจะเกิดเป็นคะแนนความยากงานของตัวชี้วัดนั้น

จากระดับความยาก-ง่ายที่ได้มาสู่เกณฑ์การประเมินผล คือ

1. ค่าคะแนนระหว่าง 2-4 คะแนน จะอยู่ในระดับง่าย เกณฑ์การประเมินผลงานที่ 91 -100 % ของเป้าหมายจะอยู่ที่ระดับ 3 คะแนน

2. ค่าคะแนนอยู่ที่ระหว่าง 5-7 คะแนน จะอยู่ในระดับปานกลาง เกณฑ์การประเมินผลงานอยู่ที่ 91-100 % ของเป้าหมายอยู่ที่ระดับ 4 คะแนน

3. คะแนนอยู่ที่ระหว่าง 8-10 คะแนน จะอยู่ในระดับยาก เกณฑ์การประเมินผลงานอยู่ที่ 91-100 % ของเป้าหมายอยู่ที่ระดับ 5 คะแนน

เมื่อนำมาทำเป็นตารางจะได้รูปแบบดังตารางที่ 2
รูปภาพ1.jpg

ตัวอย่าง

1. กรณีระดับง่าย 2 - 4 คะแนน โครงการบริการสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ คือ ร้อยละความสำเร็จของโครงการคะแนนระดับความยากง่ายที่ 4 คะแนน มาจาก


        - ประเภทตัวชี้วัด เป็นแบบ ผลผลิต (เชิงปริมาณ) เวลา ระดับความยากง่ายเท่ากับ 1

        - ความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย คือ ดำเนินการร่วมกันระหว่างฝ่ายภายในของสำนักทะเบียนระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 2

        - ระดับความท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย คือ เป้าหมายเท่ากับผลงานเดิมหรือยังไม่เคยกำหนดเป้าหมาย ระดับความง่ายจะเท่ากับ 1

เมื่อนำทั้งสามค่ามารวมกัน คือ 1+2+1 คะแนนความยากง่ายจะเท่ากับ 4 คะแนน

2. กรณีระดับปานกลาง 6 คะแนน โครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ คือร้อยละความสำเร็จของโครงการ คะแนนความยากง่ายที่ 6 คะแนน มาจาก

        - ประเภทตัวชี้วัด เป็นแบบ ผลผลิต (เชิงปริมาณ) เวลา ระดับความยากง่ายเท่ากับ 1

        - ความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย คือ อาศัยความรวมมือจากภายนอก ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 4

        - ระดับความท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย คือ เป้าหมายเท่ากับผลงานเดิม หรือยังไม่เคยกำหนดเป้าหมาย ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 1

เมื่อนำทั้งสามค่ามารวมกัน คือ 1+4+1 คะแนนความยากง่ายจะเท่ากับ 6 คะแนน


3. กรณีระดับยาก 8-10 โครงการศึกษาดูงานหน่วยงานที่ให้บริการดีเด่นทั้งภายในหรือต่างประเทศ เป็นผลการศึกษาเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นตามกลยุทธ์ Modern และ Smart คะแนนความยากง่ายที่ 10 คะแนน มาจาก

        - ประเภทตัวชี้วัด เป็นแบบ ผลลัพธ์ (เชิงคุณภาพ) เนื่องจากเป็นการคิดวิเคราะห์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบข้อแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานกัน ระดับความยากง่ายเท่ากับ 4

        - ความสามารถในการควบคุมความสำเร็จของเป้าหมาย คือ อาศัยความรวมมือจากภายนอก ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 4

        - ระดับความท้าทายในการกำหนดเป้าหมาย คือ เป้าหมายสูงกว่าผลงานเดิม ระดับความยาก-ง่าย เท่ากับ 2 เมื่อนำทั้งสามค่ามารวมกัน คือ 4+4+2 คะแนนความยากง่ายจะเท่ากับ 10 คะแนน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น