ในอดีตเคยมีเสือโคร่งอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากยังมีป่าไม้และทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์ อันเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งเสือโคร่งในธรรมชาติของประเทศไทยมีประมาณ 200-250 ตัว เสื้อโครงต้องการอาหารประมาณ วันละ 5-6 กิโลกรัม
เสือโคร่งจะทิ้งรอยข่วนตามต้นไม้เพื่อประกาศอาณาเขตของตน
และอีกวิธีหนึ่งคือ การปล่อยปัสสาวะไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่นพุ่มไม้ โคนไม้ หรือก้อนหิน เมื่อเสือโคร่งตัวอื่นมาได้กลิ่นนี้ จะทราบได้ว่าเจ้าของพื้นที่เป็นเพศใด และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้วหรือไม่
กลิ่นของปัสสาวะนี้คงอยู่ได้ไม่นานนัก ดังนั้นเจ้าของพื้นที่จะต้องมั่นแวะเวียนตรวจตราพื้นที่และเติมกลิ่นของตน เองอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากกลิ่นหายไปแล้ว เสือโคร่งตัวอื่นอาจถือว่าเป็นพื้นที่ไม่มีเจ้าของและยึดพื้นที่ไปได้
เสือโคร่งต่างจากสัตว์ในตระกูลแมวหลายชนิด เสือโคร่งไม่กลัวน้ำซ้ำยังชอบน้ำมาก
ในช่วงกลางวันของฤดูร้อนมันมักลงไปนอนแช่น้ำในทะเลสาบหรือบึง
มีบันทึกการเห็นเสือโคร่งว่ายน้ำเป็นระยะทางไกลอยู่บ่อยครั้ง เคยมีรายงาน ว่าเสือโคร่งที่อาศัยอยู่ในเกาะช้างว่ายน้ำข้ามไปจังหวัดตราด ซึ่งมีระยะห่างประมาณ 17 กิโลเมตรเป็นประจำ
เสือโคร่งในธรรมชาติจะอายุเฉลี่ยประมาณ 10 ปี เสือโคร่งในประเทศไทยส่วนใหญ่ตายด้วยโลกพยาธิและโรคติดเชื้อ
ในช่วงผสมพันธ์เสือเพศผู้และเพศเมียจะอยู่รวมกันประมาณ 4-5 วัน และอาจผสมพันธ์กันทุก ๆ 15-20 นาที
เสือโคร่งจัดว่าเป็นสัตว์อารมณ์ดี ไม่ฉุนเฉียวง่าย แม้ยามที่ถูกบุกรุกมันจะส่งเสียงคำรามเตือนก่อน เสือที่ทำร้ายมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นเพราะ อายุมาก บาดเจ็บ และไม่สามารถล่าเหยื่อตามธรรมชาติได้จึงมาล่ามนุษย์แทน
วีธีหลีกเลี่ยงการถูกทำร้ายจากเสือของคนในบริเวณนี้คือการสวมหน้ากากคนไว้ที่ด้านหลังของศรีษะ วิธีนี้สามารถลวงเสือไม่ให้เข้าทำร้ายได้ดีพอสมควร เพราะตามปรกติเสือโคร่งมักจะจู่โจมจากด้านหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น