วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาวะนี้...เสี่ยงเป็นโรคเกม



เด็กๆ มีโอกาสติดเกมได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมซึ่งเป็นช่วงที่มีเวลาว่าง เด็กจะเล่นคอมพิวเตอร์ได้ง่าย เมื่อเปิดเทอมจึงไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้งอแง หรือต้องให้คุณแม่เอาแท็บเล็ตใส่กระเป๋าไปให้ด้วย ทำให้ไม่สนใจการเรียน

อาการติดเกมมีดังนี้

1. มีความต้องการที่จะเล่นมากขึ้น ชอบต่อรองการเล่นและเพิ่มเวลาในการเล่นมากขึ้น
2. ขอเล่นเกมที่ยากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น ขอใช้เครื่องที่มีความเร็วและแรงขึ้น เหมือนกับคนติดยา ที่ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น
3. เล่นแล้วพัฒนาการแย่ลง จากที่เคยชอบเล่นกีฬา กล้ามเนื้อมีการพัฒนา แต่พอติดเกมจะไม่เล่นกีฬา การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนในที่สุด
4. เสียกิจวัตรประจำวัน เคยกินนอนเป็นเวลา ก็จะไม่ยอมกิน ห่วงเล่นเกม ไม่ทำการบ้าน ไม่นอนก็ได้ นั่งเล่นดึกดื่นได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย อยากจะตื่นมาเล่นเกม
5. โกรธ เมื่อจำกัดเวลาในการเล่นหรือห้ามเล่น เพื่อให้ไปทำอย่างอื่น มีพฤติกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ทุบตีพ่อแม่ ขว้างข้าวของ อารมณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะจิตใจเปลี่ยน มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับพ่อแม่และคนรอบข้างได้

การรักษา...แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการว่ามีภาวะติดเกมแค่ไหน จะได้ประเมินการรักษาได้ถูกต้อง ซึ่งการรักษาจะเริ่มตั้งแต่ พูดคุยให้คำปรึกษา แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนไปถึงการให้ยา



ที่มา : นิตยสารรักลูก เดือน มิ.ย.56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น